: งานบริการผู้ป่วยนอก : งานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช : งานบริการผู้ป่วยใน : งานบริการผู้คลอด : งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและวิสัญญี : งานการพยาบาลควบคุมการติดเชื้อและจ่ายกลาง

แผนยุทธศาสตร์องค์กรพยาบาล โรงพยาบาลปรางค์กู่ ปี 2566-2570

วิสัยทัศน์องค์กรพยาบาล (Vision)
เป็นองค์กรพยาบาลที่ทันสมัย มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน บริการเป็นเลิศ

พันธกิจ องค์กรพยาบาล(Mission)

1. พัฒนาการให้บริการทางการพยาบาลแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคีเครือข่ายระบบบริการสุขภาพ
3. พัฒนาให้บุคลากรทางการพยาบาลให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข
5. พัฒนาระบบการบริการพยาบาลให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยี
4. พัฒนาระบบการบริการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ

ค่านิยมองค์กรพยาบาล
1.ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Customer focus)
2.ทำงานเป็นทีม (Team work)
3.อิงข้อมูลตัดสินใจ (Management by fact)
4.ใผ่เรียนรู้ (Learning)
5.สู่มุมมองอย่างเป็นระบบ (System Perspective)

 สมรรถนะหลัก (Core Competency)
บริการพยาบาลด้วยใจ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

ประเด็นยุทธศาสตร์

1. พัฒนาระบบบริการพยาบาลในการส่งเสริมป้องกันโรคและภัยสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
2. พัฒนาระบบริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
3.พัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรทางการพยาบาลโดยยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้บุคลากรมีความสุข
4. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่เอื้อต่อการบริหารและบริการพยาบาล
เข็มมุ่ง ปี 2566
1. พัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. ปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย
ขอบเขตองค์กรพยาบาลโรงพยาบาลปรางค์กู่ตามมาตรฐานและความรับผิดชอบด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ดังนี้
1) ด้านการบริหารการพยาบาล ประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล รองหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลด้านการบริหาร รองหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลด้านการบริการ รองหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลด้านวิชาการ และคณะกรรมการองค์กรประกอบด้วยหัวหน้างานทางการพยาบาลทุกหน่วยงาน โดยมีบทบาทความรับผิดชอบดังนี้
1.1 กำหนด นโยบายทางการพยาบาลเพื่อเป็นทิศทางการปฏิบัติของทุกหน่วยงาน
1.2 จัดให้มีโครงสร้างและขอบเขตงานในความรับผิดชอบชัดเจน
    1.3 จัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรที่ส่งเสริมคุณภาพบริการพยาบาล
    1.4 ออกแบบระบบการบริหารจัดการกำลังคนทางการพยาบาลขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ
1.5 ออกแบบระบบงานทางการพยาบาลให้เหมาะสมสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนากระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพ สสจ.และโรงพยาบาล
1.6 มอบหมายงานและติดตามผลการดำเนินงานด้านการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ

      2) ด้านการบริการทางพยาบาลและการผดุงครรภ์

2.1 การใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ โดยผู้รับบริการมีส่วนร่วม และมีการประสานความร่วมมือในทีมการพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ
2.2 การรักษาสิทธิผู้ป่วย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อปกป้องและรักษาไว้ซึ่งสิทธิ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการรักษาพยาบาลของ ผู้รับบริการ2.3 การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์  ตามบทบาทหน้าที่หลักในการบรรเทาอาการจากความทุกข์ทรมานและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง มีการทบทวน ประเมินกระบวนการการดูแล ผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ มีการนำความรู้จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างต่อเนื่อง
2.4 การจัดการ การดูแลต่อเนื่อง ให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแผนร่วมกับทีมสุขภาพ ผู้รับบริการและ/หรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยระยะกลาง และผู้ป่วยระยะสุดท้าย
2.5 การบันทึกทางการพยาบาลที่ครอบคลุมการดูแลผู้รับบริการตามกระบวนการพยาบาล

3) ด้านวิชาการและการติดตามผลลัพธ์
3.1 ส่งเสริม  สนับสนุน การให้บริการด้านวิชาการให้กับบุคลากร หน่วยงาน และเครือข่ายบริการพยาบาล
3.2  สนับสนุน /ความรู้ของผู้รับบริการเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ/ฝึกทักษะในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ/ครอบครัว
3.3 การนำอุบัติการณ์มาทบวนวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนาและออกแบบแก้ไขปัญหา และพัฒนานวัตกรรม พัฒนาวิชาการและงานวิจัยอย่างน้อยหน่วยงานละ 1 เรื่องต่อปี
3.4 กำกับ ติดตาม  ผลลัพธ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง