KM67_1

การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอปรางค์กู่

พนอม ศรียงยศ พว.ชำนาญการ , มนัสชนก คุณมาศ พว.ชำนาญการ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ. ศรีสะเกษ

 

บทคัดย่อ

 

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน เป้าหมาย 1.อัตราผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัดครบ 4 เดือน ร้อยละ 70 2.อัตราการ หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ร้อยละ 92 3.อัตราหยุดเสพต่อเนื่อง 12 เดือน ร้อยละ 60 ระยะเวลาดำเนินการใน ปี2564-2566 กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ บ้านสำโรงปราสาท ตำบล สำโรงปราสาท บ้านสุโข ตำบลพิมาย , บ้านสวาย ตำบลสวาย , บ้านท่าคอยนาง ตำบลสวาย และบ้านป่าบาก ตำบลหนองเชียงทูน วิธีดำเนินการ 1.วิเคราะห์ชุมชนตามองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการเพื่อคัดเลือกพื้นที่ เป้าหมาย 2.ขั้นเตรียมการ แต่งตั้งชุดปฏิบัติการประกอบด้วย สาธารณสุข ตำรวจ ปกครอง องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ร่วมกันวางแผน ออกแบบ กำหนดวิธีการดำเนินงานตามศักยภาพและบริบทของ ชุมชน 3.ขั้นปฏิบัติการตามรูปแบบที่กำหนดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ด้วยการลงพื้นที่ ประกาศวาระ หมู่บ้าน เวทีประชาคม กระบวนการสร้างแนวร่วม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ กระบวนการค้นหา คัดแยกผู้มี พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กระบวนการกลั่นกรองและรับรองบุคคล กระบวนการบำบัดกลุ่มผู้ใช้/ผู้เสพ สารเสพติด ด้วยโปรแกรม CBT บำบัดฟื้นฟูเป็นระยะเวลา 4 เดือน 16 กิจกรรม การรับรองครัวเรือนสีขาว 4. ขั้นส่งต่อความยั่งยืน เป็นการส่งมอบพื้นที่รักษาสถานะชุมชนเข้มแข็ง การเฝ้าระวังโดยการใช้มาตรการทาง สังคม ใช้พลังและศักยภาพของชุมชน และติดตามกลุ่มผู้ผ่านการบำบัด ในระยะเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันการ กลับมาเสพซ้ำ 5.เก็บรวบรวมวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่และผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ผลการ ดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2564 อัตราผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัดครบ 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 100 อัตราการ หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ร้อยละ 67 อัตราหยุดเสพต่อเนื่อง 12 เดือน ร้อยละ 58.3 ปี พ.ศ. 2565 อัตรา ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัดครบ 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 100 อัตราการหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ร้อยละ 50 อัตราหยุดเสพต่อเนื่อง 12 เดือน ร้อยละ 50 ปี พ.ศ. 2566 อัตราผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัดครบ 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ100 ปี พ.ศ. 2567 บ้านท่าคอยนาง ตำบลสวาย อัตราผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัด ครบ 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 97.56 อัตราการหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ร้อยละ 100 อัตราหยุดเสพต่อเนื่อง 12 เดือน อยู่ระหว่างติดตาม ปี พ.ศ. 2567 บ้านป่าบาก ตำบลหนองเชียงทูน อัตราผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการ บำบัดครบ 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 91.66 อัตราการหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ร้อยละ 95.45 อัตราหยุดเสพ ต่อเนื่อง 12 เดือน อยู่ระหว่างติดตาม

 

คำสำคัญ : การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ , ผู้ป่วยยาเสพติด , การมีส่วนร่วมของชุมชน สาระสำคัญ

 

การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอปรางค์กู่ 

ตอนที่ 1 ความสำคัญของผลงาน : ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงที่ส่งผล กระทบต่อบุคคล ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ จากรายงานปัญหายาเสพติดโลกของสำนักงาน

 

ด้านยาเสพติดและอาชญากรรมขององค์การสหประชาชาติ ปี ค.ศ 2014 พบว่ามีประชากรกว่า 20 ล้านคนที่ เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและมีผู้เสียชีวิตปีละ 200,000 คน สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ.2565 มีผู้ใช้สารเสพติด เข้ารับการบำบัดทั้งหมด 120,915 คน (จากรายงานผลการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข)

 

สถาณการณ์การใช้สารเสพติดในอำเภอปรางค์กู่พบว่า ในปี พ.ศ.2564 จำนวน 114 ราย ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 58 ราย ปี พ.ศ.2566 จำนวน 75 ราย และปี พ.ศ.2567 จำนวน 181 ราย ปัญหายาเสพติด ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรงในครอบครัว บ่อนทำลาย เศรษฐกิจ และทำลายเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

 

จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการบูรณาการร่วมกันกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหายาเสพ ติดในชุมชน โดยใช้กระบวนการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ผู้ใช้สารเสพติดได้รับการบำบัด การติดตามดูแลต่อเนื่อง ช่วยให้ผู้ใช้สารเสพติดสามารถลด ละ และเลิกใช้ยาเสพติด คืนคนดีสู่สังคม 

ตอนที่ 2 จุดประสงค์การดำเนินงาน : พัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน

 

 

ตอนที่ 3 ขอบเขตของการดำเนินงาน

 

3.1 เป้าหมายการดำเนินงาน

 

1. อัตราผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัดครบ 4 เดือน ร้อยละ 70

 

2. อัตราการหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ร้อยละ 92

 

3. อัตราหยุดเสพต่อเนื่อง 12 เดือน ร้อยละ 60

 

3.2 ขอบเขตเนื้อหา

 

ทำการศึกษาในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ บ้านสำโรงปราสาท ตำบลสำโรงปราสาท ในปี พ.ศ. 2564 , บ้านสุโข ตำบลพิมาย ในปี พ.ศ. 2565 , บ้านสวาย ตำบลสวาย ในปี พ.ศ.2566, บ้านท่าคอยนาง ตำบลสวาย และบ้านป่าบาก ตำบลหนองเชียงทูน ในปี พ.ศ.2567 กลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ใช้ สารเสพติดที่อยู่ในกลุ่มผู้ใช้ และผู้เสพ โดยใช้แบบคัดกรองผู้ใช้สารเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข ( แบบ ประเมิน V2) ปี พ.ศ.2564 ผู้ใช้ 12 ราย ผู้เสพ 13 ราย ปี , พ.ศ.2565 ผู้ใช้ 4 ราย ผู้เสพ 17 ราย ปี , พ.ศ. 2566 ผู้ใช้ 11 ราย ผู้เสพ 32 ราย และ ปี พ.ศ. 2567 ผู้ใช้ 42 ราย ผู้เสพ 23 ราย

 

ตอนที่ 4 ประโยชน์ที่จะได้รับ : มีรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนตามบริบทของพื้นที่ มีการบูรณาการในการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบ บทบาทของตนเองในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนมีความตระหนักรู้ในปัญหายาเสพติดเห็น ความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในชุมชน ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัดและดูแลต่อเนื่อง จนสามารถลด ละ และเลิกยาเสพติดได้

 

ตอนที่ 5 กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน โดยมีกระบวนการหลัก 4 ขั้นตอน 

1. ขั้นวิเคราะห์ชุมชนเพื่อคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการศึกษาข้อมูลในด้าน

 

1.1 การระบาดของสารเสพติด บ้านสวาย ตำบลสวาย จัดเป็นเป็นพื้นที่สีแดง เนื่องจากมีจำนวนผู้เสพ และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด มีผู้เสพและผู้ค้าในพื้นที่โดยรอบของบ้านสวาย

1.2 ความสมบูรณ์ของชุมชนในการบำบัดฟื้นฟู จากการวิเคราะห์ชุมชนด้วยการทำ TOP Model พบว่า บ้านสวาย ตำบลสวาย มีผู้นำชุมชนและคณะกรรมการมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติด มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวาย และโรงพยาบาลปรางค์กู่ ในการดูแลด้านสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลสวาย สนับสนุนงบประมาณ มีกลุ่มฝึกอาชีพในชุมชนกลุ่มทำเครื่องจักสานตะกล้าและไม้กวาดจากทางมะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ในชุมชน

 

1.3 จากการทำประชาคมภายในชุมชนตามกระบวนการ Appreciation-Influence-control :A-I-C เพื่อ ค้นหา วิเคราะห์และกำหนดปัญหาที่เกิดจากสารเสพติดในชุมชน พบว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ในด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดก่อความ รุนแรงในชุมชน เยาวชนมีการมั่วสุม ขาดแรงงานในการประกอบอาชีพทั้งครอบครัว และในชุมชน ทำให้ ครอบครัวขาดรายได้ มีการขับรถจักรยานยนต์เสียงดังก่อให้เกิดความรำคาญ

 

1.4 เลือกหมู่บ้านสวาย ตำบลสวายเป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยพื้นที่มีพื้นการทำงานด้านการป้องกันปัญหา ยาเสพติดภายใต้การดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอปรางค์กู่ โดยมี นายอำเภอปรางค์กู่เป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมีคณะกรรมการชุมชน ลูกบ้านที่สนใจมีความพร้อมที่จะร่วม กิจกรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่

 

1.5 มีการกำหนดเวลาในการดำเนินงานในช่วง 1 เมษายน 2566 – 31 กรกฎาคม 2566 โดยมีขั้นตอนใน การทำงาน 3 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นเตรียมการ 2.ขั้นปฏิบัติการ 3.ขั้นส่งต่อความยั่งยืน

 

1.6 กำหนดเป้าหมายของความสำเร็จจากตัวชี้วัด โดยกลุ่มผู้ใช้ ผู้เสพสารเสพติด สามารถลด ละ และ หยุดเสพสารเสพติดได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องตามแนวทางแก้ไขปัญหายาและสาร เสพติดระดับชาติ

 

2. ขั้นเตรียมการ

 

2.1. แต่งตั้งชุดปฏิบัติการประกอบด้วย สาธารณสุข ตำรวจ ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้การ อำนวยการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอปรางค์กู่ ร่วมกันวางแผน ออกแบบการ ดำเนินงาน โดยมีภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนได้แก่ โรงเรียนพระดาบถ พัฒนาฝีมือแรงงาน การศึกษานอก ระบบ

 

2.2. สืบสภาพชุมชนโดยการทำ SWOT การทำประชาคม เพื่อนำมาวางแผนในการดำเนินงาน

 

2.3. ชุดปฏิบัติการลงพื้นที่พบปะผู้นำ/ ผู้นำตามธรรมชาติ เพื่อแสวงหาความร่วมมือ มีการจัดแบ่งคุ้มและ คณะกรรมการประจำคุ้มเพื่อสามารถให้การดูแลได้อย่างทั่วถึง

 

2.2 กำหนดวิธีการดำเนินงานตามศักยภาพและบริบทของชุมชน

3. ขั้นปฏิบัติการตามรูปแบบที่กำหนดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ด้วยการลงพื้นที่ ประกาศวาระ หมู่บ้าน เวทีประชาคม กระบวนการสร้างแนวร่วม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ กระบวนการคันหาคัดแยกผู้มี พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กระบวนการกลั่นกรองและรับรองบุคคล กระบวนการบำบัดกลุ่มผู้ใช้/ผู้เสพ สารเสพติด ด้วยโปรแกรม CBT บำบัดฟื้นฟูเป็นระยะเวลา 4 เดือน 16 กิจกรรม กระบวนการบำบัดด้วย กิจกรรมชุมชนบำบัด กีฬาบำบัด การฝึกระเบียบ วินัย ฝึกการเป็นจิตอาสาร่วมพัฒนาหมู่บ้าน ศาสนาบำบัด การฝึกอาชีพ การกำหนดกติกาชุมชน การตรวจปัสสาวะทุกสัปดาห์ และกระบวนการกลั่นกรองรับรองบุคคล และครัวเรือนสีขาว

 

4 .ขั้นส่งต่อความยั่งยืน เป็นการส่งมอบพื้นที่ รักษาสถานะชุมชนเข้มแข็ง การเฝ้าระวังโดยการใช้มาตรการ ทางสังคม ลดพื้นที่เชิงลบ เพิ่มพื้นที่เชิงบวก ด้วยการแต่งตั้งมอบหมายการดูแลเป็นคุ้ม ภาคีเครือข่ายร่วมตั้ง จุดตรวจจุดสกัด โดยใช้พลังและศักยภาพของชุมชน เพื่อติดตามกลุ่มผู้ผ่านการบำบัดและตรวจปัสสาวะทุก 1 สัปดาห์ ในเดือนแรกของการบำบัด และตรวจทุก 1 เดือน ในระยะเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ เฝ้าระวัง และสอดส่องดูแล รับฟังและช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วย และครอบครัว กำหนดบทลงโทษหากมีการ ฝ่าฝืนตามธรรมนูญหมู่บ้านตามมติสมาชิกในชุมชน

 

5. เก็บรวบรวมวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่

 

จากการดำเนินการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารเสพติดในชุมชน 2 พื้นที่ ในปี พ.ศ.2564 และ พ.ศ.2565 ซึ่งเป็นการใช้รูปแบบของ CBTx โดยเน้นความต่อเนื่องของกระบวนการดูแลตั้งแต่ กระบวนการค้นหาผู้ป่วย การช่วยเหลือพื้นฐาน การลดอันตรายและการกลับคืนสู่สังคม พบว่าหลังจากการ บำบัด 3 เดือน และ 12 เดือน มีผู้ป่วยที่คงการหยุดเสพไม่กลับไปเสพซ้ำลดลง ซึ่งจากการทำ SWOT พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับไปเสพซ้ำ ส่วนหนึ่งคือความต่อเนื่องในการติดตามของคณะกรรมการคุ้ม ในปีพ.ศ. 2566 จึงดำเนินการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน ครอบครัว และคณะกรรมการคุ้ม ด้วยหลักการเยี่ยมเสริมพลัง ตามหลัก Appreciative inquiry ในการชื่นชมด้วย ขั้นตอน 4 D ซึ่งประกอบด้วย 1.Discovery : การชื่นชม ค้นหา 2.Dream :พาวาดภาพฝัน 3.Design : หันหาภาพจริง 4.Destiny : วิ่งสู่เป้าหมาย

 

 ตอนที่ 6 ผลการดำเนินการ / ผลสัมฤทธิ์

 

1. รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอปรางค์กู่

 

ได้รูปแบบของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการดูแล ผู้ใช้ยาและสารเสพติด รวมถึงการให้บริการภายในชุมชนโดยชุมชนตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับการคัดกรอง ปัญหาการเสพติดของบุคคลในชุมชน การบำบัดและฟื้นฟูเป็นไปในแนวทางของสาธารณสุขที่กำหนดไว้และมติ ของคณะกรรมการ ทั้งนี้เมื่อบุคคลบำบัดครบตามกำหนด จะได้รับการดูแลต่อเนื่องโดยชุมชน เพิ่มศักยภาพ ทางด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ

 

2. ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย

 

 

ตอนที่ 7 ปัจจัยความสำเร็จ

 

1. ศักยภาพของผู้นำชุมชนและทีม

 

2. ชุมชนมีส่วนร่วม

 

3. เครือข่ายสนับสนุน

 

4. ประยุกต์ใช้โปรแกรมการบำบัด แบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม

 

5. การติดตามเยี่ยมเสริมพลังแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และคณะกรรมการคุ้มอย่างต่อเนื่อง

 

ตอนที่ 8 บทเรียนที่ได้รับ

 

การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน จุดเริ่มต้นที่ดีของการแก้ไขปัญหาคือ การมองเห็นปัญหาร่วมกัน จากเสียงสะท้อนของชุมชน ประกอบกับการที่หน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้เอื้ออำนวย ให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ตามหลักการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน (CBTx) โดยกำหนดเป้าหมายและแผนการทำงานที่ชัดเจน ต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนดำเนินการ จัดการแก้ไขปัญหาโดยชุมชน รวมถึงการบูรณาการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาด้านยาเสพ ติด เช่น ปัญหาทางสังคม ปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมถึงการขยายการดำเนินการรูปแบบ CBTx ไปในพื้นที่ หมู่บ้านล้อมรอบพื้นที่เป้าหมาย โดยคำนึงถึงความพร้อม ศักยภาพของชุมชน และบุคลากรเครือข่ายในพื้นที่ ตอนที่ 9 บรรณานุกรม : สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและโรงพยาบาล ธัญารักษ์ส่วนภูมิภาค.(2562). แนวทางการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟู โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และแนว ปฏิบัติดี ( Community based treatment and rehabilitation (CBTx) and Best Practices )

 

ตอนที่ 10 ข้อมูลเจ้าของผลงาน : นางสาวพนอม ศรียงยศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ , นางสาวมนัสชนก คุณมาศ พยาบาลวิชาชีชำนาญการ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 158

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *