KM67_2

5/5

ชื่อผลงาน การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 
โรงพยาบาล โรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 
ชื่อเจ้าของผลงาน นางญาดา ขาวสะอาด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 
เป้าหมาย ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้(HbA1C น้อยกว่า 7)มากกว่า ร้อยละ 40 
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

           โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus :DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจาก การขาดฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลของเซลล์ ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดภาวะน้ำตาลสะสมในกระแสเลือดสูง ผิดปกติ หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดการเสื่อมสภาพ และเกิด ภาวะแทรกซ้อนขึ้น ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยพบว่า สถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้น แปซิฟิก (Western Pacific) ในปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 รอง จาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตามมา และผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อ ภาวะแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกายภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาด้านสายตา ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือด หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อาการชาปลายประสาท และแผลเรื้อรัง ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุดจะช่วยชะลอและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนได้ จนกลับคืนสู่ภาวะปกติ หากมีการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และมีค่าน้ำตาลสะสม ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C ; HbA1C) น้อยกว่าร้อยละ 7 การให้บริการในคลินิกตรวจรักษาโรคเบาหวานโรงพยาบาลปรางค์กู่ ที่ผ่านมาเน้น การตรวจรักษา รับยาและประเมินการกินยา ฉีดยา ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว และแจ้งวันนัด อัตราป่วย โรคเบาหวาน อำเภอปรางค์กู่ ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 2,413 ราย ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 2,489 ราย ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2,618 ราย และปี พ.ศ. 2567 จำนวน 3,708 ราย เปิดให้บริการทุกวันพฤหัสบดี แบ่งระดับตาม ปิงปองจราจร 7 สี ผู้ป่วยสีเขียวรับยาที่ รพ.สต.ใกล้บ้าน ผลการดำเนินงานในปี 2564-2565 ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีค่า HbA1C น้อยกว่า 7 พบร้อยละ 31.95 และ23.18 ตามลำดับจากข้อมูล ดังกล่าวจึงได้ทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากขึ้น และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้มากที่สุด ดังนั้น โรงพยาบาลปรางค์กู่ จึงได้พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับสหวิชาชีพขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีต่อเนื่อง และช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอีกด้วย

วิเคราะห์ปัญหา บุคลากร และระบบบริการ

– จำนวนผู้ให้บริการ / ผู้รับบริการจำนวนมาก

– เน้นการรักษา การดูแลในคลินิก

– การให้ข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัวที่ครอบคลุมมิติด้านครอบครัว สังคม ยังไม่สมบูรณ์

– ขาดการดูแลต่อเนื่องในรายทีมีค่า HbA1C มากกว่า 7

– การดูแลผู้ป่วยมีการประเมินวิถีชีวิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกคน

ตัวผู้ป่วย

– น้ำหนักเกิน ระดับน้ำตาลเกิน

– กินอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ

– ขาดการออกกำลังกาย

– ความเครียด

– มีโรคร่วม

– ปัญหาด้านจิตใจ

ชุมชน

– การสนับสนุนเชิงนโยบาย

– ระบบสุขภาพชุมชน

กิจกรรมการพัฒนา

มีการคิดกระบวนการเพื่อมาแก้ไขปัญหา โดยยึดกระบวนการทำงาน PDCA (Plan-Do-Check-Act) จากการวิเคราะห์ปัญหา พบว่ากระบวนการดูแลผู้ป่วย เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลได้ จึงได้วางแผนเพื่อปรับกระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกบริการ ดังนี้

1. วางแผน (Plan)

– รวบรวมข้อมูลจากรายงานเดือนตัวชี้วัด

– ระชุมชี้แจงข้อมูลแก่บุคลากรในหน่วยงาน เพื่อวิเคราะห์สาเหตุ คัดเลือดวิธีการแก้ปัญหาและ

ปรับปรุง รับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรในหน่วยงาน

– วางแผนร่วมกับสหวิชาชีพ เภสัชกร นักโภชนาการ แพทย์ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบล

2. แนวปฏิบัติ(Do)

– กำหนดแนวทางหลักการปฏิบัติร่วมกับสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

– นำแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับน้ำตาลตามปิงปองจราจรเจ็ดสี

– ประชุมให้ความรู้ วิธีใช้ และแนวทางปฏิบัติ แก่บุคลากร

– ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ ร่วมกับสหวิชาชีพ

– การดูแลรักษาในคลินิก เน้น care of patient,Information &

Empowerment,Continutity of care

– ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาล แบ่งตามระดับปิงปอง สีส้ม สีแดง ได้รับการดูแลร่วมกับ

นักโภชนาการ

– ศึกษาผลกระทบและตรวจสอบกระบวนการว่าได้ดำเนินการตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ พร้อม

สื่อสารให้ทีมบุคคลากร เพื่อปรับแผนการพัฒนา

3. การตรวจสอบ (Check)

– ประเมินผลและรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เปรียบเทียบจากข้อมูลเดิม

– ติดตามค่า HbA1C ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

4. การปรับปรุงให้เหมาะสม (Action)

– นำแนวทางกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติและพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจ HbA1C อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี มากกว่า ร้อยละ 70

2. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี HbA1C < 7 มากกว่า ร้อยละ 40

สรุปผลการดำเนินงาน

จากการนำกระบวนการดูแลผู้ป่วยมาใช้ในคลินิกโรคเบาหวานของโรงพยาบาลปรางค์กู่ ตั้งแต่การ ตรวจรักษา การให้ข้อมูล การเสริมพลัง การประเมิน ทำให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมระดับ น้ำตาลได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน จึงนำกระบวนการดูแลผู้ป่วยมาใช้และติดตามอย่างต่อเนื่อง


Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *