RDU งาน 0R รู้ก็ช่วยงานสูติฯได้
งานห้องคลอด-ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111
นางสาวปรียาภรณ์ แหวนเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ E-mail prethygirl-th@hotmail.com
บทคัดย่อ
การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นปัญหาระดับโลก และพบว่าขณะนี้ปัญหาเชื้อดื้อยามากขึ้น สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น โดยพบคนไทยติดเชื้อยาปฏิชีวนะปีละกว่า1แสนคน ใช้เวลารักษาตัวนานขึ้นรวมกันปีละ กว่า 3 ล้านวัน องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความของ “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use)” ไว้ คือ “ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหา สุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษา ที่เหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด”กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดความสำคัญเป็นอันดับแรกในการพัฒนาให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของสตรีคลอดปกติครบกำหนดคลอดทางช่องคลอดเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพทุกเขตและเขตบริการสุขภาพที่10 ได้ให้ความสำคัญ เป้าหมาย <10 ผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาที่คลอดปกติทางช่องคลอดมีแนวโน้มมากกว่าเป้าหมาย ปี 2559 มีมารดาทั้งหมด 188 คน ใช้ยาปฏิชีวนะ 20 คนคิดเป็นร้อยละ 10.64 ปี 2560 มีมารดาทั้งหมด 181 คนใช้ยาปฏิชีวนะ 20 คนคิดเป็นร้อยละ11.05, ปี 2561 มีมารดาทั้งหมด 192 คน มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 ส่วนหนึ่งเกิดจากมารดาหลังคลอดที่ทำผ่าตัดทำหมันหญิงได้รับยาปฏิชีวนะทุกราย ถึงแม้ว่ายังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในมาดาคลอดลดลงกว่าเป้าหมาย( <10 ) ก็ตาม แต่ก็ยังมีการใช้ยาATB ถือว่าเป็นความท้าทายของหน่วยงานและทีมPTC ในระดับรพ.ยังคงต้องมีการพัฒนาและหาแนวทางพัฒนาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ประเด็นที่ต้องนำมาปรับคือลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาที่ทำหมัน ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าในมารดาที่ทำผ่าตัดทำหมัน ถือว่าเป็นแผลสะอาด ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ จึงมีการปรับเปลี่ยนกับทีมงาน OR-LR มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้ยาและปฏิบัติตามแนวทางจะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นได้มาก นอกเหนือจากนี้ ถ้าหน่วยงาน ทีมคุณภาพระดับรพ.ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการทบทวนแนวทาง นำปัญหาและอุปสรรคมาปรับปรุงแก้ไข และสรุปตัวชี้วัด นำเสนอในระดับอำเภอ,จังหวัดเพื่อให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล จะพบการการพัฒนาในภาพรวมในแต่ละระดับ เพื่อมุ่งให้ผู้ป่วยปลอดภัยลดปัญหาการดื้อยา และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้เป็นอย่างดี
สาระสำคัญ
ชื่อผลงาน : RDU งาน 0R รู้ก็ช่วยงานสูติฯได้
เจ้าของผลงาน : นางสาวปรียาภรณ์ แหวนเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ผู้นำเสนอ : นางสาวปรียาภรณ์ แหวนเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ , Tel 045-697050 ต่อ 111
บทนำ : การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นปัญหาระดับโลก กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดความสำคัญเป็นอันดับแรกในการพัฒนาให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของสตรีคลอดปกติครบกำหนดคลอดทางช่องคลอดเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพทุกเขตและเขตบริการสุขภาพที่10ให้ความสำคัญ เป้าหมาย <10 ผลการดำเนินการที่ผ่านมา การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของมารดาที่มาคลอดในรพ.ปรางค์กู่ ปี 2559 ,2560 ,2561 พบการใช้ยาปฏิชีวนะของมารดาที่มาคลอดคิดเป็นร้อยละ 10.64 ,11.05 , 8.33 ส่วนหนึ่งเกิดจากมารดาหลังคลอดที่ทำผ่าตัดทำหมันหญิงได้รับยาปฏิชีวนะทุกราย ถึงแม้ว่ายังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในมาดาคลอดต่ำกว่าเป้าหมาย >10ก็ตาม แต่ก็ยังพบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ ถือว่าเป็นความท้าทายของหน่วยงานและทีมPTC ในระดับรพ.ยังคงต้องมีการพัฒนาและหาแนวทางพัฒนาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ประเด็นที่ต้องนำมาปรับคือลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาที่ทำหมัน ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าในมารดาที่ทำผ่าตัดทำหมัน ถือว่าเป็นแผลสะอาด ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของมารดาคลอดที่ผ่าตัดทำหมันหญิง
วิธีดำเนินการ : กลุ่มเป้าหมายคือมารดาที่มาคลอดและได้ทำหมันในโรงพยาบาลปรางค์กู่ทุกรายดำเนินงานระหว่างวันที่ 21ก.ย. 2559 – 20 มี.ค 2562 วิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน : 1. มีการเข้าร่วมประชุมระดับอำเภอ จังหวัด และระดับเขตเพื่อดูภาพรวมของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
2. มีการกำหนดนโยบายการใช้ยาสมเหตุผล โดยประชุมประกาศเป็นนโยบายในระดับรพ.ร่วมกับคณะกรรมการ PTC,PCT
3. ประชุมชี้แจงนโยบายการใช้ยาสมเหตุผลในมารดาหลังคลอดที่ทำหมันให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทราบ
4. ทบทวนการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาหลังคลอดที่ทำผ่าตัดทำหมันหญิง
5. มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้ยาปฏิชีวนะของมารดาที่มาทำหมันหญิงร่วมกับแพทย์และทีมPCT
6. จัดทำแนวทางที่ง่ายในการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดและสรุปผลตัวชี้วัด
7. มีการติดตามผลและรายงานผลการทำงานทุก 3 เดือน ร่วมกับทีม PTC,PCT
ผลการดำเนินการ : จากการเก็บข้อมูลพบว่ายังมีการใช้ยาปฏิชีวนะของมารดาที่มาคลอดปี 2559 มีมารดาทั้งหมด188 คน ใช้ยาปฏิชีวนะ 20 คนคิดเป็นร้อยละ10.64 ปี 2560 มีมารดาทั้งหมด 181 คน ใช้ยาปฏิชีวนะ 20 คนคิดเป็นร้อยละ 11.05,ปี2561 มีมารดาทั้งหมด 192 คน มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 ปี 2562 มีมารดาทั้งหมด 98 คน มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4.08 จะเห็นได้ว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาหลังคลอดลดลงต่ำกว่าเป้าหมายมา 2 ปี
อภิปรายผล : จากการทบทวนพบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในมาดาคลอดจะเห็นได้ว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาหลังคลอดลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย <10 ในปี2561 มีมารดาทั้งหมด 192 คน มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 , ปี 2562 มีมารดาทั้งหมด 98 คน มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4.08 เนื่องจากมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนกำหนดแนวทางชัดเจนในมารดาที่ทำหมันหญิงไม่ได้ให้แพทย์สั่งยาปฏิชีวนะทุกราย แต่ยังมีการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัดตามมาตรฐาน แต่ยังพบมีการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาหลังคลอดปกติ ทีมยังต้องมีการพัฒนาและหาแนวทางในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะให้ได้มากที่สุดเพื่อลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก การให้ยาปฏิชีวนะอยู่ที่แพทย์ผู้สั่งการใช้ยา แต่ถ้าหน่วยงานและทีมมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้ยาและปฏิบัติตามแนวทางจะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นได้มาก นอกเหนือจากนี้ ถ้าหน่วยงาน ทีมคุณภาพระดับรพ.ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการทบทวนแนวทาง นำปัญหาและอุปสรรคมาปรับปรุงแก้ไข และสรุปตัวชี้วัด นำเสนอในระดับอำเภอ,จังหวัดเพื่อให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล จะพบการการพัฒนาในภาพรวมในแต่ละระดับ เพื่อมุ่งให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดปัญหาการดื้อยา และลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

ความภาคภูมิใจ : จากการพัฒนาแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะในมาดาคลอดปกติจะเห็นได้ว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาหลังคลอดลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย<10 เนื่องจากปี
2562มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนกำหนดแนวทางชัดเจนในมารดาที่ทำหมันหญิงไม่ได้ให้แพทย์สั่งยาปฏิชีวนะทุกราย
แต่ยังมีการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัดตามมาตรฐาน
ยังพบมีการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาหลังคลอดปกติ
งานห้องผ่าตัดมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับทีมห้องคลอด
นอกเหนือจากนี้
ทีมยังต้องมีการพัฒนาและหาแนวทางในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะให้ได้มากที่สุดเพื่อลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก
เอกสารอ้างอิง : คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล.
คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาล
ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
2558 [cited 23กรกฎาคม 60]. Available from:
http://drug.fda.moph.go.th/zone_admin/files/RDU%20final_220615.pdf.