1. ชื่อผลงาน /โครงการ : การติดตามแนวทางการปฏิบัติ Trauma check list 

2. คำสำคัญ : Trauma check list,การบาดเจ็บทางสมอง 

3. สรุปผลงานโดยย่อ
xxxxxxxการบาดเจ็บทางสมอง (traumatic brain injury )หมายถึง การบาดเจ็บที่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง การทำงานของสมองหรือเกิดพยาธิสภาพในสมอง เนื่องจากมีแรงภายนอกสมองมากระทบ
การบาดเจ็บทางสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุทุกประเภท งาน
อุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลปรางค์กู่ ให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
โดยพบว่าในปี2564 มีผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองมารับบริการ ทั้งสิ้น 121 ราย แบ่งออกเป็นผู้ป่วยที่มีการ
บาดเจ็บระดับไม่รุนแรง (mild HI with low risk) 23 ราย ,ระดับปานกลาง(mild HI with moderate
risk) 92 ราย และ ระดับรุนแรง (moderate to severe HI with High risk ) 9 ราย ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วย
Trauma ที่มีอาการระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง จะต้องใช้แบบประเมินTrauma check list เพื่อให้
สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง โดยพบว่าในปี 2564 พบมีการใช้ แบบประเมิน Trauma check list
จำนวน 32 ราย คิดเป็นร้อยละ31.68 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จึงได้เล็งเห็น
ความสำคัญของการใช้แบบประเมินTrauma check list จึงได้พัฒนาแนวทางการใช้ขึ้นมา เพื่อให้
สามารถประเมินผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วน 

4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : โรงพยาบาลปรางค์กู่ 84/2 หมู่ที่ 1 ตำบล พิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัด
ศรีสะเกษ 33170 

5. สมาชิกทีม : นางสาวเสาวนีย์ ศรีสุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและทีมเจ้าหน้าที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน
และนิติเวช โรงพยาบาลปรางค์กู่ 

 6. เป้าหมาย : เพื่อให้ผู้ป่วยTrauma ที่มีอาการระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง (moderate to severe
HI with High risk ) ทุกรายได้รับการใช้แบบประเมินTrauma check list >60% 

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
xxxxxxxจากการทบทวนและเก็บข้อมูลพบว่า เจ้าหน้าที่ยังขาดความต่อเนื่องในการใช้แบบประเมิน
Trauma check list เนื่องจากแบบประเมิน Trauma check list มีเนื้อหาซับซ้อน ยุ่งยาก ไม่สะดวกใน
การใช้งาน และยังพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มTrauma ส่วนใหญ่มีภาวะเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้แบบประเมิน
Trauma check list ทันที ทำให้มีอัตราการใช้แบบประเมิน Trauma check list น้อย 

 8. กิจกรรมการพัฒนา
xxxxxxx8.1 ประชุมเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Severe Trauma เพื่อให้
เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน
xxxxxxx8.1สื่อสารให้ เจ้าหน้าที่รับทราบ และปฏิบัติร่วมกันในหน่วยงาน
xxxxxxx8.3 ปรับรูปแบบการลงข้อมูลใหม่ โดยใช้วิธีการลงในสมุด Trauma check list เพื่อความ
สะดวก
xxxxxxx8.4 มีการติดตามการใช้แบบประเมินและเก็บข้อมูลการใช้แบบประเมิน Trauma check list
ทุกเดือน 

9. การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง : อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล
เรื่อง
เดือน
รวม ก่อนดำเนินการ หลังดำเนินการ
ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย
จำนวนผู้ป่วย Trauma
ทั้งหมด
จำนวนการใช้แบบ
ประเมิน
ร้อยละ 

10. บทเรียนที่ได้รับ : ผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองมีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงควรมีการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการ
จัดระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ เมื่อบุคลากรปฏิบัติ
ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแล้ว ย่อมส่งผลให้มีคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ดีและยังเป็นการพัฒนาระบบอีก
ด้วย
xxxxxxx1.ปรับแนวทางให้ง่าย
xxxxxxx2. ทำนวัตกรรม 

11. การติดต่อกับทีมงาน : Patty19052522@gmail.com และงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช
โรงพยาบาลปรางค์กู่ 84/2 หมู่ที่ 1 ตำบล พิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 3317

1 thought on “ER01”

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *