การพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบครบวงจรในโรงพยาบาลปรางค์กู่

นางปณิตา ดวนใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทคัดย่อ

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในมารดาหลังคลอด จากข้อมูลสถิติโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี 2559-2561 พบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.96 เป็นร้อยละ 3.14 และร้อยละ 4.96 ตามลำดับสาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ80 เกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ ทีมงานห้องคลอดจึงร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันมารดาตกเลือดหลังคลอดแบบครบวงจรขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย เกิดทีมการทำงานที่เข้มแข็งส่งผลให้อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดน้อยลงในที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันมารดาตกเลือดหลังคลอดแบบครบวงจร เป้าหมาย1.อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด<ร้อยละ3  2. อุบัติการณ์การเกิดภาวะshock = 0  3. อุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต = 0  4. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ 100  5. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ > ร้อยละ 80  กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มาคลอดที่รพ.ปรางค์กู่ ระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2561 – 20 พฤษภาคม 2562 จำนวน 109 คน วิธีดำเนินการ 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับแผนกฝากครรภ์นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2. แผนกฝากครรภ์กำหนดแนวทางการค้นหาความเสี่ยง มีการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงPPH มีการสื่อสารส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานกับห้องคลอด มีการรักษาภาวะซีดจน Hct >30% ก่อนคลอด มีการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับภาวะตกเลือดหลังคลอดกับมารดาทุกราย 3. ห้องคลอดจัดทำแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับแบ่งกลุ่มเสี่ยง PPH จัดทำ Alert PPH Checklist (Intrapartum) ใช้ดูแลในระยะคลอด จัดทำนวัตกรรม PPH เปิดกล่องดูหนูช่วยได้ในการดูแลรักษา PPH เพื่อการเข้าถึงยาและสารน้ำได้ง่ายและรวดเร็ว มีการใช้ถุงเจลเย็นประคบมดลูกหลังคลอด Empowerment การนวดคลึงมดลูก จัดทำ Alert PPH Checklist (Postpartum) ใช้ดูแลในระยะหลังคลอด 4. มีระบบการส่งต่อข้อมูลเครือข่ายติดตามเยี่ยมบ้านมารดาตกเลือดหลังคลอดและF/U1เดือน CBC ก่อนพบแพทย์ทุกราย 5. อบรมให้ความรู้จัดซ้อมแผนการดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอดแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก 3 เดือน 6. มีการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดทุกรายร่วมกับPCT MCH broad เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนาร่วมกัน  7. สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ 8. เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการดำเนินงาน พบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดร้อยละ1.83 อุบัติการณ์การเกิดภาวะshock = 0 อุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต = 0 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ100 ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ร้อยละ100  การนำไปใช้ประโยชน์ ระบบการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีม เกิดทีมงานเข้มแข็ง เป็นเหตุให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ในที่สุด

เอกสารอ้างอิง : กรมการแพทย์(2560).คู่มือเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 7

                  

สาระสำคัญ
ชื่อผลงาน:การพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบครบวงจรในโรงพยาบาลปรางค์กู่
เจ้าของผลงาน : นางปณิตา ดวนใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ผู้นำเสนอ : นางปณิตา ดวนใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  , Tel 045-697050 ต่อ 111
บทนำ : ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในมารดาหลังคลอด จากข้อมูลสถิติโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี 2559-2561 พบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ2.96 เป็นร้อยละ3.14 และร้อยละ4.96 ตามลำดับสาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ80 เกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ ทีมงานห้องคลอดจึงร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันมารดาตกเลือดหลังคลอดแบบครบวงจรขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย เกิดทีมการทำงานที่เข้มแข็ง ส่งผลให้อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดน้อยลงในที่สุด

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันมารดาตกเลือดหลังคลอดแบบครบวงจร
เป้าหมาย : 1. อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด < ร้อยละ
              2. อุบัติการณ์การเกิดภาวะshock = 0 
              3. อุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต = 0
              4. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ 100 
              5. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ > ร้อยละ 80 
กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มาคลอดที่รพ.ปรางค์กู่ ระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2561 – 20 พฤษภาคม 2562 จำนวน 109 คน
วิธีการศึกษา : 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับแผนกฝากครรภ์นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง
2. แผนกฝากครรภ์กำหนดแนวทางการค้นหาความเสี่ยง มีการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงPPH มีการสื่อสารส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานกับห้องคลอดผ่านช่องทาง line  PCT แม่และเด็กปรางค์กู่ และประทับตรา H มีการรักษาภาวะซีดจน Hct >30% ก่อนคลอด  มีการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับภาวะตกเลือดหลังคลอดกับมารดาทุกราย
3. แผนกห้องคลอดจัดทำแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับแบ่งกลุ่มเสี่ยง PPH เป็นเสี่ยงต่ำ เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงสูง กำหนดแนวทางปฏิบัติการดูแลในแต่ละกลุ่มความเสี่ยง มีการจัดทำ Alert PPH Checklist (Intrapartum) ใช้ดูแลในระยะคลอดโดยแบ่งระดับการดูแลเป็น 3 ระดับตามการสูญเสียเลือดคือ1).EBL<300 ml ให้การดูแลแบบ Prevention 2). EBL > 300 ml ให้การดูแลแบบ Alert  3). EBL> 500 ml ให้การดูแลแบบ PPH และจัดทำChecklist กรณีรกค้างเพื่อให้การดูแลรักษาที่รวดเร็วถูกต้องครบถ้วน  มีการจัดทำนวัตกรรม PPH เปิดกล่องดูหนูช่วยได้ในการดูแลรักษา PPH เป็นการรวมวัสดุอุปกรณ์สารน้ำและยาที่ใช้ในการดูแลรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดไว้ที่เดียวเพื่อการเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว  มีการใช้ถุงเจลเย็นประคบมดลูกหลังคลอดและEmpowerment การนวดคลึงมดลูก มีการจัดทำ Alert PPH Checklist (Postpartum) ใช้ดูแลในระยะหลังคลอด
4. มีระบบการส่งต่อข้อมูลเครือข่ายติดตามเยี่ยมบ้านมารดาตกเลือดหลังคลอดและF/U1เดือน CBC ก่อนพบแพทย์ทุกราย
5. มีการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดทุกรายร่วมกับPCT MCH broad เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนาร่วมกัน
6. อบรมให้ความรู้จัดซ้อมแผนการดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอดแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก 3 เดือน
7. สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่
8. เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ
 ผลการดำเนินงาน : หลังการดำเนินงานพบอุบัติการณ์มารดาตกเลือดหลังคลอด 2 ราย คิดเป็นร้อยละ1.83 จากสาเหตุรกค้าง 1 ราย Uterine atony 1 ราย อุบัติการณ์การเกิดภาวะshock = 0 อุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต = 0 อัตราการแก้ไขภาวะซีดจน Hct >30% ก่อนคลอดร้อยละ 100 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ100 ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ร้อยละ100
อภิปราย สรุปและข้อเสนอแนะ : การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดมีปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุหลายประการ การนำความรู้ หลักฐานเชิงประจักษ์หรือนวัตกรรม ตลอดจนการทบทวนอุบัติการณ์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อหาโอกาสพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากภาวะตกเลือดหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รพ.ชุมชนที่ไม่มีความพร้อมมากควรมีการป้องกันและดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอดอย่างเป็นระบบ มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถส่งต่อได้ทันเวลาเพื่อให้มารดาได้รับความปลอดภัยและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากภาวะตกเลือดหลังคลอดลงได้ การพัฒนาระบบทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีม เกิดทีมงานเข้มแข็ง เป็นเหตุให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ในที่สุด
 เอกสารอ้างอิง : กรมการแพทย์(2560).คู่มือเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 7
 https://tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/110352/86547

         

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *