ชื่อผลงาน  พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis  เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะ Septic shock รพ.ปรางค์กู่              

                  ผลงานวิชาการ

รูปแบบการนำเสนอ

                  นำเสนอด้วยโปสเตอร์  (Poster)

ชื่อผู้ส่งผลงาน

ชื่อ – สกุล นางสาวเมธาวี ราชพิมาย 

               ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

               สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลปรางค์กู่

               จังหวัด ศรีสะเกษ   เขตสุขภาพที่ 10

               โทรศัพท์  066-1659254   

   โทรศัพท์หน่วยงาน 045-697050  ต่อ  141

           E-mail : mayawee1@hotmail.com                                                                                                                 

ปีที่ดำเนินการ 2557-2561               

ชื่อผลงาน/โครงการ  พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis  เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะ Septic shock
ชื่อเจ้าของผลงาน  นางสาวเมธาวี ราชพิมาย  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปรางค์กู่  

บทนำ/หลักการและเหตุผล/ที่มาและความสำคัญ

                ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลของประเทศไทย  และอุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีผู้ป่วย Sepsis ประมาณ 175,000 ราย/ต่อปี  และมีผู้ป่วย Sepsis เสียชีวิต ประมาณ 45,000 ราย/ต่อปี จากข้อมูลโรงพยาบาลปรางค์กู่ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง มีระยะทางห่างจาก รพ. จังหวัด 64 กิโลเมตร ไม่มีอายุรแพทย์ และห้องปฏิบัติการไม่สามารถตรวจเพาะเชื้อได้ จากสถิติผู้ป่วย Sepsis ปี 2556 พบอัตราการเกิดภาวะ septic shock คิดเป็นร้อยละ 52.7 และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย จากการทบทวนพบว่าเกิดยังไม่มีแนวทางการวินิจฉัยและแนวทางประเมินซ้ำที่ชัดเจน ทำให้ประเมินล่าช้า และผู้ป่วยที่มีภาวะ Sepsis ไม่ได้เข้าสู่ระบบ sepsis fast track  ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ การให้การวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว ร่วมกับการให้การรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถที่จะลดอัตราการเกิดภาวะ Septic shock และอัตราตายได้  ในปัจจุบันในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis)  และ Septic shock โดยมีการ early detection  โดยการใช้ qSOFA , SOS score และให้การดูแลรักษาระบบ sepsis fast track  ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะ Septic shock จึงได้จัดทำแนวทางพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยมีความเข้าใจและมีทักษะในการประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงเพื่อวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

วัตถุประสงค์การศึกษา  

เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis  

วิธีการศึกษา/การดำเนินงาน

ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย Septic shock ร่วมกับองค์กรแพทย์

กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัย Sepsis

กำหนดแนวทางการประเมินผู้ป่วย Sepsis โดยการใช้ qSOFA , SOS score

กำหนดแนวทางการประเมินซ้ำ SOS score

ปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วย Septic shock โดยให้การดูแลรักษาระบบ sepsis fast track

– จัดทำ standing order  การดูแลรักษาผู้ป่วย sepsis

กำหนดแนวทางการประเมินซ้ำตาม SOS score

– กำหนดแนวทางการรายงานแพทย์เพื่อปรับแผนการรักษา

ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด

ผลการศึกษา
จากการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนาพบว่าอัตราการเกิดภาวะ Septic Shock  ลดลง โดยใน          ปี 2556 -2561  อัตราการเกิด Septic shock คิดเป็นร้อยละ 52.7  5.61, 6.5, 3.7, 4.0 และ 9.76 ตามลำดับ และไม่พบอุบัติการณ์เสียชีวิตในผู้ป่วย sepsis จนถึงปัจจุบัน 

อภิปรายผล
ผู้ป่วย sepsis  หากได้รับการประเมินและวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว มีการ early detection  โดยการใช้ qSOFA , SOS score และให้การดูแลรักษาระบบ sepsis fast track  ร่วมกับการดูแลรักษาตามแนวทางที่กำหนด สามารถลดอัตราการเกิด Septic shock และอุบัติการณ์เสียชีวิตได้
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
               ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัญหาที่สำคัญ หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การ early detection  โดยการใช้ qSOFA , SOS score ทำให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินและได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางระบบ sepsis fast track  ช่วยลดอัตราการเกิด Septic shock และอุบัติการณ์เสียชีวิตในผู้ป่วย sepsis ได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย sepsis ทั้งในโรงพยาบาล และ รพ. สต. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผู้ป่วย sepsis และให้การดูแลรักษาระบบ sepsis fast track  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *