ชื่อสิ่งประดิษฐ์: ลำโพงชีวิต 2

ชื่อผู้ประดิษฐ์/คิดค้น: นางสุรีย์พร  แหวนหล่อ ,นางสาวศันสนีย์  ศิลาชัย

ชื่อผู้นำเสนอ : นางสุรีย์พร  แหวนหล่อ  ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ติดต่อกลับ:/โทรศัพท์ : โรงพยาบาลปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  /045697253

sure_letter@hotmail.com

บทนำ 

               งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลปรางค์กู่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น จากการพัฒนาระบบการช่วยฟื้นคืนชีพตั้งแต่ พ.ศ.2557-2561พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นและมีการช่วยฟื้นคืนชีพจนกลับมามีการตอบสนอง (ROSC)เพิ่มขึ้น คิดเป็น33.33,31.42,35.54,54.41 จากการเก็บข้อมูลพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่การบริหารจัดการทีมที่ดี  สมรรถนะของการกดหน้าอก(CPR)  จังหวะและความแรงของการกดหน้าอกที่เหมาะสม

จากการทบทวนข้อมูลการช่วยฟื้นคืนชีพของโรงพยาบาลปรางค์กู่ ยังพบว่า เจ้าหน้าที่ช่วยฟื้นคืนชีพไม่เพียงพอ    พยาบาลที่ทำหน้าที่ให้ยาจะต้องขานเวลาการให้ยา ขานเวลาการกดหน้าอก และทำหน้าที่ในการบันทึกด้วย   ในขณะช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่มี จนท.แจ้งให้ญาติและผู้ป่วยรายอื่นทราบ  นอกจากนี้ยังพบว่า  การกดหน้าอกมีอัตราที่ไม่สม่ำเสมอและความแรงไม่คงที่   ทางผู้จัดทำสิ่งประดิษฐ์จึงได้คิดค้น ลำโพงชีวิต ซึ่งเป็นเพียงการอัดเสียงจังหวะการกดหน้าอกเท่านั้น ต่อมาได้ปรับปรุง นวัตกรรมลำโพงชีวิต 2 ขึ้นมาซึ่งมีทั้งจังหวะการกดหน้าอก มีเสียงประชาสัมพันธ์ เสียงการเปลี่ยนคนกดหน้าอกและการให้ยา  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการ ช่วยฟื้นคืนชีพ

วัตถุประสงค์

1.         เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกดหน้าอกให้ได้ตามมาตรฐาน การช่วยฟื้นคืนชีพ

2.         เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาล

วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์

1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

2.รวบรวมข้อมูลสถิติการCPR

3.นำเสนอปัญหากับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

4.ออกแบบและจัดหาวัสดุอุปกรณ์

ลำโพง

-เครื่องอัดเสียง

-สวิตช์ไฟ และหลอดไฟ

 -คอมพิวเตอร์

5.จัดทำสิ่งประดิษฐ์โดยมีขั้นตอนดังนี้

5.1 อัดเสียงสัญญาณแจ้งญาติและผู้ป่วยใช้เครื่องอัดเสียง อัดเสียงเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งเตือนให้ญาติและผู้ป่วยรายอื่นทราบ  ข้อความดังนี้ “ ขณะนี้มีผู้ป่วยฉุกเฉินกำลังช่วยชีวิต  ขณะนี้มีผู้ป่วยฉุกเฉินกำลังช่วยชีวิต ผู้ป่วยท่านอื่นและญาติกรุณารอนอกห้องฉุกเฉิน หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หอบรุนแรง กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ที่จุดคัดกรอง ขอขอบพระคุณในความกรุณาที่ท่านเสียสละเวลาเพื่อผู้ป่วยฉุกเฉินค่ะ.สลับกับเสียงดนตรีบำบัดคลอเบาๆ  วนทุก 5 นาที

5.2 อัดเสียงสัญญาณจังหวะกดหน้าอกและการให้ยา   ก๊อปปี้เสียงจังหวะกดหน้าอก mix กับเสียงการขานให้ยาทุก 3 นาที  การแจ้งเตือนเปลี่ยนคนกดหน้าอก 10 วินาที ก่อนครบการกดหน้าอก 2 นาที   การแจ้งเปลี่ยนคนกดหน้าอก เมื่อครบ 2 นาที  ข้อความดังนี้ “ เสียงกดจังหวะกดหน้าอก 110 วินาที   เตรียมเปลี่ยนคน CPR  ครบ 120 วินาที—เปลี่ยนคน CPR        ครบ 180 วินาที —-adrenaline 1 mg IV.stat   วนไปเรื่อย ๆจนยุติการ CPR

5.3 นำไฟล์ข้อมูลเสียงสัญญาณที่อัดมาลงในคอมพิวเตอร์ 

5.4 เชื่อมลำโพงกับสวิตช์ไฟฉุกเฉิน

5.5 ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์

6.นำไปทดลองใช้จริง ดังนี้

1.         เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้อง ช่วยฟื้นคืนชีพ  จนท.เปิดสวิตช์ไฟฉุกเฉิน

2.         เปิดไฟล์เสียงประกาศแจ้งญาติและผู้ป่วย

3.         เปิดไฟล์สัญญาณการให้จังหวะกดหน้าอกและการให้ยา 

4.     เจ้าหน้าที่ทีม CPR ปฏิบัติตามบททาทของตน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *