ชื่อสิ่งประดิษฐ์: ลำโพงชีวิต 3

ชื่อผู้ประดิษฐ์/คิดค้น: นายอดิศักดิ์  อินทร์คำและคณะ

ชื่อผู้นำเสนอ : นายอดิศักดิ์ อินทร์คำ

สถานที่ติดต่อกลับ:/โทรศัพท์ : โรงพยาบาลปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  /045697253

E-mail :  Adisuk.jo@gmail.com

 บทนำ 

               งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลปรางค์กู่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น จากการพัฒนาระบบการช่วยฟื้นคืนชีพตั้งแต่ พ.ศ.2558-2562 พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นและมีการช่วยฟื้นคืนชีพจนกลับมามีการตอบสนอง (ROSC)เพิ่มขึ้น คิดเป็น 36.36, 38.71, 54.17, 41.38 และ 44.74 จากการเก็บข้อมูลพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่การบริหารจัดการทีมที่ดี  สมรรถนะของการกดหน้าอก(CPR)  จังหวะและความแรงของการกดหน้าอกที่เหมาะสม

จากการทบทวนข้อมูลการช่วยฟื้นคืนชีพของโรงพยาบาลปรางค์กู่ ยังพบว่า เจ้าหน้าที่ช่วยฟื้นคืนชีพไม่เพียงพอ    พยาบาลที่ทำหน้าที่ให้ยาจะต้องขานเวลาการให้ยา ขานเวลาการกดหน้าอก และทำหน้าที่ในการบันทึกด้วย   ในขณะช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่มี จนท.แจ้งให้ญาติและผู้ป่วยรายอื่นทราบ  นอกจากนี้ยังพบว่า  การกดหน้าอกมีอัตราที่ไม่สม่ำเสมอและความแรงไม่คงที่   ทางผู้จัดทำสิ่งประดิษฐ์จึงได้คิดค้น ลำโพงชีวิต ซึ่งเป็นเพียงการอัดเสียงจังหวะการกดหน้าอกเท่านั้น ต่อมาได้ปรับปรุง นวัตกรรมอีก 2 ครั้ง  เป็น ลำโพงชีวิต 3 ซึ่งเพิ่มจังหวะการกดหน้าอก มีเสียงประชาสัมพันธ์ เสียงการเปลี่ยนคนกดหน้าอกและการให้ยา และนำนวัตกรรมไปใช้ที่ตึกผู้ป่วยในและห้องคลอดรวม 3 ตึก  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการ ช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์

1.         เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกดหน้าอกให้ได้ตามมาตรฐาน การช่วยฟื้นคืนชีพ

2.         เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาล

วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์

1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

2.รวบรวมข้อมูลสถิติการCPR

3.นำเสนอปัญหากับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

4.ออกแบบและจัดหาวัสดุอุปกรณ์

ลำโพงขนาดเล็ก มีนาฬิกา ราคา 400 บาท 

– เมมโมรี่การ์ด  ราคา  250 บาท

– คอมพิวเตอร์

– โทรศัพท์มือถือ

5.จัดทำสิ่งประดิษฐ์โดยมีขั้นตอนดังนี้

5.1  ค้นหาจังหวะกดหน้าอกในคอมพิวเตอร์ และก๊อปปี้สัญญาณจังหวะการกดหน้าอกไว้

5.2  อัดเสียง การแจ้งเตือนเปลี่ยนคนกดหน้าอก   การแจ้งเปลี่ยนคนกดหน้าอก   และการขานให้ยา adrenaline ลงในโปรแกรมบันทึกเสียงในโทรศัพท์มือถือ 

5.2  ตัดต่อเสียงจังหวะกดหน้าอก mix กับเสียงการขานให้ยาทุก 3 นาที  การแจ้งเตือนเปลี่ยนคนกดหน้าอก 10 วินาที ก่อนครบการกดหน้าอก 2 นาที   การแจ้งเปลี่ยนคนกดหน้าอก เมื่อครบ 2 นาที  ข้อความดังนี้ “ เสียงกดจังหวะกดหน้าอก 110 วินาที   เตรียมเปลี่ยนคน CPR  ครบ 120 วินาที—เปลี่ยนคน CPR        ครบ 180 วินาที —-adrenaline 1 mg IV.stat   วนไปเรื่อย ๆ จนยุติการ CPR

5.3  ก๊อปปี้ file ใส่ SD Card

5.4   นำ SD Card เสียบใส่ในลำโพงบลูธูท

5.5   เมื่อจะใช้งานให้กดปุ่มเปิด เครื่องจะทำงานทันที 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *