ผลการปฏิบัติตามแนวทาง Surgical Safety Check list ในโรงพยาบาลปรางค์กู่

นางสาวปรียาภรณ์  แหวนเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องผ่าตัด รพ.ปรางค์กู่

จ.ศรีสะเกษ โทรศัพท์ 045697050 ต่อ 111

บทคัดย่อ

ความปลอดภัยของคนไข้ที่ต้องได้รับการผ่าตัด เป็นสิ่งที่ทีมงานห้องผ่าตัดให้ความสำคัญสูงสุด หัวใจของความปลอดภัยในการผ่าตัด ได้แก่ ผู้ป่วยจะต้องได้รับ การผ่าตัดถูกต้อง ถูกข้าง ถูกตำแหน่ง ไม่มีภาวะติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างในร่างกายผู้ป่วย และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญจึงจัดทำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย Surgical Safety Check list ขึ้นในปี 2551 เพื่อให้ทุกโรงพยาบาล นำไปใช้ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการผ่าตัดปลอดภัย ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วย  จากการทบทวนระบบการทำงานของห้องผ่าตัดโรงพยาบาลปรางค์กู่พบว่ายังไม่ได้นำมาตรฐานการทำSurgical Safety Check list เข้ามาใช้ในการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดได้รับความปลอดภัย แม้จะเป็นการทำผ่าตัดเล็กและไม่มีอุบัติการณ์ผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดตำแหน่ง เพื่อเป็นการพัฒนาระบบงานให้ได้ตามมาตรฐานที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆและเจ้าหน้าที่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาดำเนินการ 21 กันยายน 2562 –20 มีนาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มาผ่าตัดที่รพ.ปรางค์กู่ในช่วงเวลา 21 กันยายน 2562 –20 มีนาคม 2563 ) วิธีดำเนินการ 1.ประชุมทีมงานผ่าตัดและทีมที่เกี่ยวข้องร่วมกับองค์กรแพทย์2.อบรมให้ความรู้เรื่อง Surgical Safety Check list และทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง3.จัดทำแบบบันทึก Surgical Safety Check list ให้เข้ากับบริบทของโรงพยาบาลปรางค์กู่  4. กำหนดแนวทางปฏิบัติตาม Surgical Safety Check list 5.จัดทำแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการสังเกต 6.มีการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดความไม่สงค์ในการผ่าตัด 7.ติดตามตัวชี้วัดสำคัญการปฏิบัติตามแนวทางการตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย 8. สำรวจความพึงพอใจของผู้รับการผ่าตัด  9. สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่    10. เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2562 จำนวนผู้ผ่าตัดทั้งหมด 110 รายไม่พบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ในการผ่าตัด ได้แก่การผ่าตัดถูกคน = 100% ถูกข้าง ถูกตำแหน่ง = 100% ไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างในร่างกายผู้ป่วย = 0 ราย  และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ คิดเป็น 0 ราย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ100 ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ร้อยละ 100และ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ 92%

 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการนำแนวทาง Surgical Safety Check list มาดูแลผู้รับการผ่าตัดเป็นแนวทางมาตรฐาน สามารถป้องกันอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ในการผ่าตัดได้ และทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้การทำงานอย่างเป็นระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำวิชาการที่ทันสมัยและการทำงานเป็นทีมยังมีความสำคัญในการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลผู้มารับบริการ

 

สาระสำคัญ

ชื่อผลงาน : ผลการปฏิบัติตามแนวทาง Surgical Safety Check list ในโรงพยาบาลปรางค์กู่

เจ้าของผลงาน :..ปรียาภรณ์  แหวนเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ผู้นำเสนอผลงาน : ..ปรียาภรณ์  แหวนเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องผ่าตัด รพ.ปรางค์กู่

จ.ศรีสะเกษ โทรศัพท์ 045697050 ต่อ 111

บทนำ : ความปลอดภัยของคนไข้ที่ต้องได้รับการผ่าตัด เป็นสิ่งที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญสูงสุด หัวใจของความปลอดภัยในการผ่าตัด การนำแนวทาง Surgical Safety Check list มาดูแลผู้รับการผ่าตัดเป็นแนวทางมาตรฐานที่ทำให้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับ การผ่าตัดถูกต้อง ถูกข้าง ถูกตำแหน่ง ไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างในร่างกายผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆและเจ้าหน้าที่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจสอบความถูกต้องผู้ป่วยผ่าตัด Surgical Safety Check list โรงพยาบาลปรางค์กู่

เป้าหมาย :  1. การปฏิบัติตามแนวทาง Surgical Safety Check list = 100 %

                      2. อุบัติการณ์การผ่าตัดผิดคน = 0 ราย

                      3. อุบัติการณ์ผ่าตัดผิดข้างผ่าตัดผิดตำแหน่ง = 0 ราย

                      4. มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างในร่างกายผู้ป่วย  = 0 ราย

                      5. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ > ร้อยละ 80

           6. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ > ร้อยละ 80

ระยะเวลาดำเนินงาน : ปีงบประมาณ 2562 – 2563

กลุ่มตัวอย่าง : ผู้มารับบริการที่มาผ่าตัดที่รพ.ปรางค์กู่ระหว่างปีงบประมาณ 2562–2563 (กันยายน 2562 – มีนาคม 2563)

วิธีการศึกษา

1.ประชุมทีมงานผ่าตัดและทีมที่เกี่ยวข้องร่วมกับองค์กรแพทย์

2.อบรมให้ความรู้เรื่อง Surgical Safety Check list และทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง

3.จัดทำแบบบันทึก Surgical Safety Check list ให้เข้ากับบริบทของโรงพยาบาลปรางค์กู่ 

          4. กำหนดแนวทางปฏิบัติตาม Surgical Safety Check list

5. จัดทำแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการสังเกต

6. มีการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดความไม่สงค์ในการผ่าตัด

7. ติดตามตัวชี้วัดสำคัญการปฏิบัติตามแนวทางการตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย

8. สำรวจความพึงพอใจของผู้รับการผ่าตัด

9. สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่

10. เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *