1.ชื่อผลงาน/โครงการ:
การพพัฒนาการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยSTEMI

2.คำสำคัญ:
การคัดกรองและประเมินผู้ป่วย STEMI

3.สรุปผลงานโดยย่อ:

      โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นโรคที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างไม่คาดฝันงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลปรางค์กู่ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจึงได้พัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างต่อเนื่องโดยกระบวนการที่สำคัญในการให้บริการ ได้แก่  การคัดกรองและประเมิน
การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น การทำ
EKGภายใน10 นาทีและวิเคราะห์ผล เพื่อเข้าระบบช่องทางด่วนกระบวนการให้ยาละลายลิ่มเลือด(fast track)และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราเสียชีวิตจากข้อมูลผู้ป่วย STEMI ที่มารับบริการในโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี2560-2562 พบว่าในปี2560มีผู้ป่วยSTEMI 11 รายคัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 4 ราย (36.36%) ปี2561 มีผู้ป่วยSTEMI 7 ราย คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 2 ราย (28.57%) และใน2562 มีผู้ป่วยSTEMI7 ราย คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 3 ราย (42.85%) ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยSTEMIมีจุดเน้นในการจัดผู้ป่วยเข้าระบบช่องทางด่วน(fast tract) โดยเน้นที่คุณภาพการคัดกรองและประเมิน อาการเจ็บหน้าอก และการยืนยันด้วยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่รวดเร็วภายใน10 นาที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา30 นาที

4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร:
โรงพยาบาลปรางค์กู่ 84/2 ม.1 ต.พิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170

5. สมาชิกทีม:
นางสาวทิพวรรณ ศรีโพนทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและทีมงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช
โรงพยาบาลปรางค์กู่

6. เป้าหมาย:

1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่สงสัยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการประเมินเพื่อทำ EKG และแปลผลภายใน 10 นาทีอย่างครอบคลุม

2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว

3. เพื่อลดอุบัติการณ์ Delay diagnosis

4. เพื่อให้ผู้ป่วยที่วินิจฉัย STEMI มีข้อบ่งชี้ในการให้ยา SKได้รับยาภายใน30นาทีหลังได้รับการวินิจฉัย

5. ไม่มีผู้ป่วย STEMI เสียชีวิต

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ:

  
             จากการทบทวนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม
ACS พบว่าผู้ป่วย STEMI ในปี
2560 จำนวน 11ราย พบว่า ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยาSK ไม่ได้ยาภายใน 30 นาที (5/6)= 83.3%  ตรวจ EKG ไม่ได้ภายใน10
นาที(4/11)
= 36.36 % เกิดภาวะCardiac Arrestและเสียชีวิตที่ER (2/11)= 13.33% ได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างต่อเนื่องและในปี
2560 นั้นผู้ป่วยที่ได้รับยา
SK 6 ราย
(มีผู้ป่วยเสียชีวิตขณะให้ยา 1 ราย )ทีม
PCT จึงได้มีการทบทวนเหตุการณ์และมีการเพิ่ม
Competency ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ให้ยา Streptokinase  ในปี2561ผู้ป่วย STEMI 7 รายพบว่า SK ไม่ได้ภายใน 30 นาที (4/4)= 100%
 คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 2 ราย (28.57%)ไม่เกิดภาวะCardiac
Arrest  และในปี 2562
ผู้ป่วย
STEMI 7 ราย พบว่า SK
ไม่ได้ภายใน 30 นาที (2/5)
= 40%  คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 3 ราย (42.85%) ไม่เกิดภาวะCardiac
Arrest กลางปีงบประมาณ 2562  เครือข่าย service plan โรคหัวใจได้ทบทวนตัวชี้วัดเรื่องการให้
SK ภายใน 30 นาที เนื่องจากไม่ผ่านทั้งจังหวัด
จึงปรับการนับระยะเวลาการให้
SK จากเดิมนับจากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
เป็นนับตั้งแต่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น
STEMI  และปรับระบบการส่งขอคำปรึกษา ให้ใช้ 2 ระบบคือ
ไลน์และโทรศัพท์ทันที

8. กิจกรรมการพัฒนา:

1.การคัดกรองและประเมินที่จุดคัดแยก

กระบวนการ

เดิม

พัฒนาใหม่

ผู้ป่วยมีอาการที่สงสัย ACS มาถึงรพ.

(Entry)

 

พยาบาลวิชาชีพที่จุดคัดกรอง รอบัตร  เมื่อได้บัตรจึงประเมิน chest pain check list และวัด vital sign แล้วส่ง ER

 

1. พยาบาลวิชาชีพที่จุดคัดกรองประเมินchest pain check list และวัด vital sign   คัดกรองทันที โดยไม่ต้องรอบัตร

2. Activate จากจุดคัดกรองเข้า ER ทันที

 

การซักประวัติ ตรวจ และ

ประเมินอาการเพื่อวินิจฉัย

ที่ER (Assessment)

 

1. Check V/S & Pain Scale

2. ซักประวัติ

3. EKG 12 leads เมื่อมีประวัติหรือปัจจัยเสี่ยงภายในไม่เกิน 10 นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง

โรงพยาบาล และให้แพทย์อ่านผล

 

การประเมินผู้ป่วย ใช้เวลาไม่เกิน 10นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล โดย

1. Check V/S & Pain Scale

2. ซักประวัติการเจ็บป่วย และประเมินความเสี่ยง

3. ตรวจร่างกายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับอาการที่สงสัยและให้การดูแล

4.  EKG 12 leads ทันทีทุกรายภายในไม่เกิน 10 นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ประเมินผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจเบื้องต้น และรายงานแพทย์

เพื่ออ่านผลซ้ำ

 

 

กิจกรรมการพัฒนา

1.         ทบทวนการใช้แบบประเมิน chest pain check list ตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงรพ.และจุดพบผู้ป่วย

2.          มีการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย STEMI และปรับปรุง CPG ให้เหมาะสม

3.      พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้บริการด่านหน้า ให้สามารถประเมิน คัดกรองได้ถูกต้องและรวดเร็วทันต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

4.       อบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ในกลุ่มโรค ACS และปรับปรุงแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดให้มีความชัดเจนและครอบคลุมและชี้แจงการใช้แบบประเมินให้เข้าใจตรงกัน

5.      จัดวิชาการและส่งแพทย์ พยาบาลเพิ่มพูนความรู้ในการดูแล ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

6.      ประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการดูแลผู้ป่วย STEMI ร่วมกับการประเมินผลที่ได้จากการสังเกต สะท้อนผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้องและนำไปพัฒนาต่อ

9. การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง: 

          โดยในปี 2563 (ต.ค.62- มี.ค.63 )มีผู้ป่วย STEMI 5 ราย พบว่า ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการได้รับยาSK (2/2) 100%  คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 3 ราย (60%), วินิจฉัยล่าช้า 3 ราย(60%) และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตตั้งแต่ปี2561เป็นต้นมา

10. บทเรียนที่ได้รับ

1.การสนับสนุนจากผู้บริหารและการกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งสู่การทำงานเป็นทีมกับ เครือข่ายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการจัดระบบบริการและการจัดการปัญหาและอุปสรรค ทำให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่ถูกต้องและรวดเร็ว

2.การพัฒนาอย่างต่อเนื่องควรดําเนินงานเชิงรุก ในประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนให้มีศักยภาพในการช่วยติดตามผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชน นอกจากนั้นการพัฒนาเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงในการป้องกันการเกิดโรค ก็เป็นสิ่งที่จะต้องดําเนินงานควบคู่กันไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและลดอัตราการเกิดโรค

3. การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย STEMI ต้องดําเนินงานพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ผู้เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลชุมชนอย่างต่อเนื่องและควรมีระบบการรับปรึกษาจากแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะต้องสามารถทําให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 6 ชั่วโมงแรกของการเกิดภาวะ STEMI เพิ่มมากขึ้น( Delay Diagnosis)

11.การติดต่อกับทีมงาน: โรงพยาบาลปรางค์กู่ 84/2 ม.1 ต.พิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170  โทรศัพท์ 045-697253

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *