การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดกรองและดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าในรพ.ปรางค์กู่

นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111

 บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นปัญหาที่สำคัญในมารดาหลังคลอด เนื่องจากมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าจะทำให้มีผลต่อบทบาทหน้าที่เปลี่ยนจากภรรยาเป็นมารดา และเตรียมความพร้อมในการดูแลบุตรภายหลังคลอดจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกเมื่อปีค.ศ.2015พบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนามีอุบัติการณ์การเกิดภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอดร้อยละ20ในประเทศไทยโรคซึมเศร้าหลังคลอดพบประมาณร้อยละ10-15ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอดคือการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดภาวะวิตกกังวล ทัศนคติของมารดาต่อการมีบุตรและการเลี้ยงดูบุตรการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้คาดหวังปัญหาความเครียดในชีวิตระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีอุบัติการณ์มารดามีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงพยายามฆ่าตัวตายพร้อมลูกและมีมารดามีความคิดฆ่าตัวตายจะลงมือทำแล้วแต่สามารถยับยั้งใจตัวเองได้และเนื่องด้วยโรงพยาบาลปรางค์กู่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชแพทย์ปฏิบัติงานเป็นแพทย์ใช้ทุนทำให้ระบบการประเมินซึมเศร้ามารดาหลังคลอดการดูแลวินิจฉัยรักษาการตรวจติดตามนัดมารดายังไม่เป็นระบบชัดเจนการดูแลรักษาตรวจติดตามขึ้นกับดุลพินิจแพทย์ทีมงานจึงร่วมกันพัฒนางานแนวทางปฏิบัติการคัดกรองและดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าเพื่อให้การดูแลมารดาคลอดแบบองค์รวมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพช่วยให้มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าสามารถเผชิญและจัดการความเครียดได้เหมาะสมมีกำลังใจเข้มแข็งตระหนักและเห็นคุณค่าของตนเองสามารถแสดงบทบาทของการเป็นแม่ได้ต่อไปป้องกันการคิดทำร้ายตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำระเบียบปฏิบัติ,flow chart มาใช้ในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มารับบริการในหน่วยงานเป้าหมายเพื่อ 1.ให้มีอัตราการคัดกรองซึมเศร้า100% 2.มารดาหลังคลอดที่ผล9Qคะแนน>=7คะแนนได้รับประเมิน8Qทุกราย 3.ผู้รับบริการได้รับการรักษาเมื่อผลประเมิน9Q>=7คะแนนทุกรายไม่มีอุบัติการณ์การฆ่าตัวตายหลังคลอดกลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่นอนหลังคลอดในระยะเวลา24-48ชั่วโมงหลังคลอดปีงบประมาณ2562และ2563ถึงเดือนมีนาคมจำนวน 246 รายวิธีการดำเนินงานโดย 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับงานสุขภาพจิตชุมชนนำเสนอปัญหาและร่วมกันจัดทำflowchartการประเมินมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้า 2.จัดทำนำระเบียบปฏิบัติการประเมินมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้ามาใช้ในหน่วยงาน 3. มารดาหลังคลอดที่ประเมิน9Q>=7 คะแนนมีปัญหาทางสังคมจิตใจได้รับการดูแลการพูดคุยทำจิตบำบัดโดยพยาบาลPGทุกราย4.มีระบบการส่งต่อข้อมูลให้เครือข่ายออกติดตามเยี่ยมบ้านผ่านระบบCOCและกลุ่มไลน์PCTแม่และเด็กปรางค์กู่5.สรุปประเด็นปัญหาอุปสรรคในการติดตามดูแลมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทุกปี6.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติเป็นร้อยละ ผลการดำเนินงาน อัตราการเข้าถึงบริการคัดกรองซึมเศร้าผู้รับบริการคลอดได้ประเมิน9Q=246รายคิดเป็น100%ไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคิดเป็น96.34%ผล9Qผิดปกติ9รายคิดเป็น3.65% ผู้รับบริการได้ประเมิน 8Qทุกราย ผลการประเมิน8Qปกติ7รายคิดเป็น77.77% ผลประเมิน8Q ผิดปกติ 2รายคิดเป็น 22.22% ผู้รับบริการที่ผล8Qผิดปกติได้รับการดูแล psychotherapy การทำจิตบำบัดและครอบครัวบำบัดโดยพยาบาลPGทำให้ไม่มีอุบัติการณ์การฆ่าตัวตายหลังคลอด การนำไปใช้ประโยชน์ การมีระบบ consultแพทย์เฉพาะทางและการดูแลผู้รับบริการแบบองค์รวมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพช่วยให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลรอบด้านประหยัดเวลาและทรัพยากรลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางพบแพทย์เฉพาะทางทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจและประทับใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

สาระสำคัญ

ขื่อผลงาน:การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดกรองและดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าในรพ.ปรางค์กู่

 เจ้าของผลงาน: นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและทีมงานห้องคลอดรพ.ปรางค์กู่

ผู้นำเสนอ: นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ติดต่อ: งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่จ.ศรีสะเกษ tell 045-697050 ต่อ 111

บทนำ  รพ.ปรางค์กู่เป็นรพ.ชุมชนไม่มีแพทย์เฉพาะทางสุขภาพจิตเป็นแพทย์ที่มาทำงานแบบใช้ทุนหมุนเวียนการดูแลเคสก็แล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์ระบบแนวทางในการดูแลเคสไม่มีระบบที่ชัดเจนการวินิจฉัยให้การรักษา การนัดตรวจติดตามเคสและระบบการ consult ยังไม่มีระบบที่ชัดเจนหลังการทบทวนทีมจึงได้ทำระเบียบปฏิบัติการประเมินภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอดโดยใช้แบบประเมินคำถาม9Qและแบบประเมินการฆ่าตัวตายโดยใช้แบบประเมิน 8Q มีการ consult แพทย์เฉพาะทางวินิจฉัยโดยแพทย์และการดูแลร่วมแบบสหสาขาวิชาชีพร่วมกับพยาบาลPG ผู้ใหญ่

วัตถุประสงค์การศึกษา 1. เพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด

 2. นำระเบียบปฏิบัติมาใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าในหน่วยงาน

เป้าหมาย:1. ให้มีอัตราการคัดกรองซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด=100%

            2. ในราย9Q ผิดปกติคะแนน>=7 คะแนนมีการประเมิน8Q=100%

            3. ผู้รับบริการได้รับการรักษาเมื่อผลประเมิน 9Q,8Q, ผิดปกติ,มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย

            4. ไม่มีอุบัติการณ์การฆ่าตัวตายหลังคลอด

กลุ่มตัวอย่าง มารดาที่นอนหลังคลอดในระยะเวลา24-48ชั่วโมงหลังคลอดปีงบประมาณ2562และ2563ถึงเดือนมีนาคมจำนวน 246 ราย

วิธีการศึกษา

1. ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับงานสุขภาพจิตชุมชนงานฝากครรภ์นำเสนอปัญหาและร่วมกันจัดทำ flow chart การประเมินและดูแลหญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้า

2. จัดทำและนำระเบียบปฏิบัติการประเมินและดูแลหญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอดที่มีภาวซึมเศร้ามาใช้ในหน่วยงาน

3. นำรูปแบบการประเมินภาวะซึมเศร้ามาใช้ในหน่วยงาน

4. หญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอดที่ประเมิน Q ผิดปกติมีความคิดฆ่าตัวตายมีปัญหาทางสังคมจิตใจได้รับการดูแล psychotherapy การพูดคุยบำบัดทางจิตโดยพยาบาล PG ทุกราย

5. มีระบบการส่งต่อข้อมูลให้เครือข่ายออกติดตามเยี่ยมบ้านแบบออนไลน์ผ่านระบบCOCและกลุ่มไลน์PCTแม่และเด็กปรางค์กู่

6. สรุปประเด็นปัญหาอุปสรรคในการติดตามดูแลมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทุกปี

 

7. เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติเป็นร้อยละ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *