ชื่อผลงาน:  พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis  รพ.ปรางค์กู่              

ชื่อเจ้าของผลงาน:  นางสาวเมธาวี ราชพิมาย  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ  

ชื่อผู้นำเสนอผลงาน:  นางสาวเมธาวี ราชพิมาย       

สถานที่ติดต่อกลับ: โรงพยาบาลปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ   โทรศัพท์  066-1659254    

โทรศัพท์หน่วยงาน 045-697050  ต่อ  141 E-mail :mayawee1@hotmail.com      

                                                                                                          

บทนำ

                ภาวะ sepsis เป็นภาวะวิกฤตที่มีความสำคัญ พบว่า อัตราอุบัติการณ์มีแนวโน้มสูงขึ้นและอัตราเสียชีวิตสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ได้แก่ ภาวะช็อก,ไตวาย การทำงานอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีผู้ป่วย Sepsis ประมาณ 175,000 ราย/ต่อปี  และมีผู้ป่วย Sepsis เสียชีวิต ประมาณ 45,000 ราย/ต่อปี จากข้อมูลโรงพยาบาลปรางค์กู่ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง มีระยะทางห่างจาก รพ. จังหวัด 64 กิโลเมตร ไม่มีอายุรแพทย์ และห้องปฏิบัติการไม่สามารถตรวจเพาะเชื้อได้ จากสถิติผู้ป่วย Sepsis ปี 2561-2562 พบอัตราการเกิดภาวะ septic shock มีแนวโน้มสูงขึ้นจากร้อยละ 9.76 เป็นร้อยละ 13.65 จากการทบทวนพบว่าผู้ป่วย Sepsis บางรายเข้ารับการรักษาล่าช้า  ไม่มีแนวทางการประเมินซ้ำที่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินล่าช้า และผู้ป่วย Sepsis ที่มีคะแนน SOS score 4 คะแนน หรือ qsofa score 2 คะแนน ไม่ได้รับการดูแลระบบ sepsis fast track ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญทีมการดูแลจึงได้พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะ Septic shock

วิธีการศึกษา

เป็นการศึกษาโดยใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วย Sepsis ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ได้แก่ การ early detection โดยการใช้  SOS score ร่วมกับ qsofa score  ปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วย sepsis  ที่มีคะแนน SOS score 4 คะแนน หรือ qsofa score 2 คะแนน ให้การดูแลรักษาระบบ sepsis fast track จัดทำ standing order  การดูแลรักษาผู้ป่วย sepsis กำหนดแนวทางการประเมินซ้ำตาม SOS score กำหนดแนวทางการรายงานแพทย์เพื่อปรับแผนการรักษา  กำหนดแนวทางการส่งต่อ  มีการจัดทำ group line sepsis  เพื่อติดต่อประสานงานการดูแลผู้ป่วย sepsis ระหว่างโรงพยาบาลและ รพ.สต. ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด เก็บข้อมูลระหว่าง ต.ค. 2562– มิ.ย. 2563  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลปรางค์กู่  188 ราย

ผลการการศึกษา 

จากการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนาพบว่าอัตราการเกิดภาวะ Septic Shock  ลดลง โดยในปี 2562– มิ.ย. 2563   อัตราการเกิด Septic shock ลดลงจากร้อยละ 13.65 , เป็น ร้อยละ 9 และไม่พบอุบัติการณ์เสียชีวิตในผู้ป่วย sepsis จนถึงปัจจุบัน 

อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัญหาที่สำคัญ หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การ early detection  เป็นปัจจัยที่สำคัญทีมดูแลผู้ป่วยต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประเมินผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและให้การการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง  มีการ monitor เหมาะสม  จะสามารถช่วยลดอัตราการเกิด Septic shock และอุบัติการณ์เสียชีวิตในผู้ป่วย sepsis ได้

 

เอกสารอ้างอิง     

Society of critical care medicine. ( 2016). Update new definitions and guidelines of sepsis JAMA. 2016;315(8):801-810. doi:10.1001/jama.2016.0287

รัฐภูมิ ชามพูนท, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, บุญส่ง พัจนสุนทร(บรรณาธิการ). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock พ.ศ.2558.:สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.

 

สมาคมเวชบำบัดวิกฤต. (2013).  แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง). เข้าถึงเมื่อวันที่  19 กรกฎาคม 2563 แหล่งที่มา : http://www.sepsiseasy.com

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *