บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง: พัฒนาการดูแลผู้ป่วย Alcohol withdrawal
Syndrome เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะชักในผู้ป่วย Alcoholwithdrawal  Syndrome

ชื่อเจ้าของผลงาน/ผู้นำเสนอผลงาน: นายอนุพนธ์ นนทวงค์

สถานที่ปฏิบัติงาน: งานผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลปรางค์กู่  โทร 045-697167 ต่อ 134

บทนำ: กลุ่มอาการ Alcohol withdrawal Syndrome  เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลางเกิดขึ้นในผู้ที่หยุดดื่มหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ลงกระทันหันหลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน อาการขาดแอลกอฮอล์มักจะรุนแรงสูงสุดในวันที่สองหลังจากหยุดดื่ม  ประมาณร้อยละ 3 ของผู้ที่มีภาวะขาดแอลกอฮอล์จะมีอาการชัก โดยร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีอาการชักจะเกิดภายใน48 ชั่วโมงหลังหยุดดื่ม  จากสถิติตึกผู้ป่วยชายโรงพยาบาลปรางค์กู่  ปี 2559 พบมีผู้ป่วย Alcohol dependence จำนวน 32 ราย เกิดภาวะ Alcohol withdrawal จำนวน 11 ราย คิดเป็น 34.37% เกิดภาวะชักจำนวน  4 ราย คิดเป็น 12.5%  และพบมีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง เกิดภาวะ Alcoholwithdrawal Syndrome มีอาการชักและเกิดภาวะ Aspiration Pneumonia ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 1 ราย จากการทบทวนพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาดื่มแอลกอฮอล์ได้รับการประเมิน  AUDIT (Alcohol UseDisorder) ไม่ครอบคลุม แนวทางการรักษาไม่ชัดเจน  ไม่มีการประเมินความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยและการสื่อสารความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยAlcohol withdrawal  ไม่ครอบคลุม  ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ถูกต้องส่งผลต่อความรุนแรงของโรคจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Alcohol withdrawalSyndrome

เป้าหมาย: เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะชักในผู้ป่วย  Alcohol withdrawal Syndrome  ให้เท่ากับ 0

วิธีดำเนินการ :เป็นการพัฒนาคุณภาพโดยใช้รูปแบบ PDCA โดยมีการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยAlcohol dependence และ Alcohol  withdrawal syndrome ทุกราย  กำหนดให้ประเมิน AUDIT (AlcoholUse Disorder) ในผู้ป่วยที่มีประวัติดื่มสุราทุกราย   ปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยAlcohol withdrawal Syndrome  ประชุมและสร้างความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในการใช้แบบประเมิน AWSscore  ปรับแนวทางการประเมินซ้ำตาม  AWS score  จัดทำแนวทางการประเมินความเสี่ยงการเกิดภาวะAspiration Pneumonia โดยใช้แบบประเมินการกลืน (Swallow
Test) และกำหนดการให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ AspirationPneumonia และผู้ป่วย Alcohol  withdrawal syndromeที่มีภาวะชัก

 ผลการดำเนินงาน : อัตราการเกิดภาวะชักในผู้ป่วย  Alcoholwithdrawal Syndrome ปี 2560 = 2.24% ปี 2561 = 0.65  ปี 2562= 0  ปี 2563 (6 เดือน) = 0 และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากปี
2560 – ปัจจุบัน
 สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุราหากได้รับการประเมินในการจำแนกระดับความรุนแรงของการดื่มสุราเพื่อวางแผนการดูแลรักษาพยาบาล  การประเมินซ้ำและการป้องกันการเกิดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างเหมาะสมทำให้ลดอัตราการเกิดภาวะชักและป้องกันการเสียชีวิตในผู้ป่วยได้

 

เอกสารอ้างอิง
:  :นพ.เทอดศักดิ์ เดชคงและคณะ.
คู่มือแนวทางปฏิบัติการช่วยเหลือและบำบัดผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์
.กรมสุขภาพจิต,2547

.นพ.มาโนช หล่อตระกูล. คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช.
ภาพวิชาจิตเวชศาสตร์                  คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี
,2544

 

สาระสำคัญ

ชื่อเรื่อง
: พัฒนาการดูแลผู้ป่วย Alcohol withdrawalSyndrome เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะชักในผู้ป่วย Alcoholwithdrawal  Syndrome

ชื่อเจ้าของผลงาน: นายอนุพนธ์ นนทวงค์

ชื่อผู้นำเสนอ:  นายอนุพนธ์  นนทวงค์

สถานที่ปฏิบัติงาน: งานผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลปรางค์กู่  โทร 045-697167 ต่อ 134

หลักการและเหตุผล:  กลุ่มอาการ Alcoholwithdrawal Syndrome  เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลางเกิดขึ้นในผู้ที่หยุดดื่มหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ลงกระทันหันหลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน  อาการขาดแอลกอฮอล์มักจะรุนแรงสูงสุดในวันที่สองหลังจากหยุดดื่ม  ประมาณร้อยละ 3 ของผู้ที่มีภาวะขาดแอลกอฮอล์จะมีอาการชัก โดยร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีอาการชักจะเกิดภายใน48 ชั่วโมงหลังหยุดดื่ม  จากสถิติตึกผู้ป่วยชายโรงพยาบาลปรางค์กู่  ปี 2559 พบมีผู้ป่วย Alcohol dependence จำนวน 32 ราย เกิดภาวะ Alcohol withdrawal จำนวน 11 ราย คิดเป็น 34.37% เกิดภาวะชักจำนวน  4 ราย คิดเป็น 12.5%  และพบมีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง เกิดภาวะ Alcoholwithdrawal Syndrome มีอาการชักและเกิดภาวะ Aspiration Pneumonia ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 1 ราย จากการทบทวนพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาดื่มแอลกอฮอล์ได้รับการประเมิน  AUDIT (Alcohol UseDisorder) ไม่ครอบคลุม แนวทางการรักษาไม่ชัดเจน ไม่มีการประเมินความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย และการสื่อสารความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย
Alcohol withdrawal  ไม่ครอบคลุม  ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ถูกต้องส่งผลต่อความรุนแรงของโรคจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Alcoholwithdrawal Syndrome

เป้าหมาย: เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะชักในผู้ป่วย  Alcohol withdrawal Syndrome  ให้เท่ากับ 0

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *