การพัฒนาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด  ในโรงพยาบาลปรางค์กู่

นางสาวอธิญา  ก้อนคำ   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

งานห้องคลอด
โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
33170, Tel 045-697050 ต่อ 111

 บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญทางสาธารณสุขที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์  และยังส่งผลกระทบต่อภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Birth asphyxia)  เนื่องจากอวัยวะปอดยังสร้างไม่สมบูรณ์  ซึ่งพบอัตราการตายสูง  อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทารกและความผิดปกติในอนาคต  ยิ่งหากทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าใด  ยิ่งส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตในทารกเพิ่มมากขึ้น  จากการทบทวนอุบัติการณ์ในห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่พบ  หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 58 พบร้อยละ  6.25 , ปี 59 พบร้อยละ 5.73 และปี 60 พบร้อยละ 7.09  มีภาวะคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 58 พบร้อยละ 3.13 , ปี 59 พบร้อยละ 3.45  และปี 60 พบร้อยละ 4.71 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  ในหน่วยงานขาดแนวทางการดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน  ดังนั้นทีมงานห้องคลอดจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาแนวทางดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด หน่วยงานมีแนวทางการดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่ชัดเจน  ไม่มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิดและอุบัติการณ์การเสียชีวิตในทารกแรกเกิด  ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยให้หญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางทางการดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลปรางค์กู่

เป้าหมาย  1. อัตราการคลอดก่อนกำหนด < ร้อยละ 3  

              2. มีแนวทางดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางการดูแล 100%

กลุ่มตัวอย่าง  หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดในรพ.ปรางค์กู่ ในปี 2561 – 31 มีนาคม 2563 จำนวน 50  ราย (2 ปี 6 เดือน)

วิธีการศึกษา  1.  ประชุมทีมงานห้องคลอดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนอุบัติการณ์  ปัญหา  ทบทวนงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง

        2กำหนดแนวทางระบบการดูแลโดยอ้างอิงวิชาการจากกรมการแพทย์และศูนย์อนามัยที่ 10  จัดทำ CPG , Flow chart  จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับ กำหนดแนวทางการดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

                  3.  ด้านบุคลากรจัดประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรับทราบแนวทางการปฏิบัติตาม CPG และ Flow chart  ที่กำหนด ประเมินการปฏิบัติตามแนวทาง

                  4ด้านระบบงาน จัดทำแนวทางการดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยมีการประเมินภาวะเสี่ยงแรกรับทุกราย ,ประเมินอายุครรภ์ , ประวัติน้ำเดิน ,สาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดในครั้งนี้   การบันทึกสัญญาณชีพ  ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC , UA   ประเมิน EFM monitor แพทย์ Ultrasound for Estimated fetal weigh , vaginal swab กำหนดแนวทางการให้ยากระตุ้นการสร้างปอด (Dexamethasone) และยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด (Terbutaline) การทำD/C plane ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กำหนดแนวทางการส่งต่อกับโรงพยาบาลแม่ข่าย  มีระบบติดตามหญิงตั้งครรภ์ภายหลังการคลอด

     5.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ

 

อภิปราย สรุปและข้อเสนอแนะ :  จากการพัฒนาแนวแนวทางการดูแลพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลปรางค์กู่  พบว่าการทำ Ultrasound และการมาตรวจภายในโดยแพทย์ไม่ได้ทำทุกรายขึ้นกับแพทย์จึงมีการประชุมทบทวนวิชาการและทำข้อตกลงกับองค์กรแพทย์ในการปฏิบัติตาม CPG  D/C Plane ขาดการติดตามภายหลังการจำหน่ายและการให้สุขศึกษารายบุคคลให้ตรงตามปัจจัยเสี่ยงที่พบซึ่งจะทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความเข้าใจทราบปัจจัยเสี่ยงของตนเองและเกิดการวางแผนในการดูแลตนเองเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและเมื่อมีอาการผิดปกติเข้าถึงการรักษาได้เร็วเพื่อให้สามารถยืดอายุครรภ์ในการคลอดออกไปได้  และจากกราฟพบว่าหญิงคั้งครรภ์มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมากขึ้นจึงควรมีการทบทวนการดูแลในแผนกฝากครรภ์โดยการจัดทำ Check list เพื่อประเมินความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ต่อการคลอดก่อนกำหนดเพื่อให้ได้รับการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *