การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อลดภาวะ Birth Asphyxia ในทารกแรกเกิด

นางสาวปรานี  อสิพงษ์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
งานห้องคลอด
โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ

 บทคัดย่อ

        ภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิด เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการคลอดซึ่งส่งผลกระทบต่อการตายของทารก หรือมีผลทำให้ทารกที่รอดชีวิตมา เจ็บป่วยและพิการ สำหรับโรงพยาบาลปรางค์กู่กำหนดให้มีการเกิดภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดได้ไม่เกิน15:1,000 การเกิดมีชีพ ข้อมูลในปี 2546 พบว่า ทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจนจำนวน 26 ราย คิดเป็น 85 : 1000 การเกิดมีชีพ มีทารกแรกเกิดเสียชีวิต 1 ราย ดังนั้นทีมจึงได้มุ่งเน้นพัฒนาระบบและรูปแบบการพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบทมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและดูแลภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดโดยมีเป้าหมาย 1.ลดอัตราการเกิดภาวะ Birth Asphyxia Apgar scoreที่ 1 นาที 7 น้อยกว่า 15: 1,000 การเกิดมีชีพ 2.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดตั้งแต่ปี2561 จนถึงปี 2565 เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด วิธีดำเนินการ 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับงานANC นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง  2. งาน ANCมีแบบคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีการพัฒนาสอนฝึกทักษะการ ultrasound ดูส่วนนำโดยเมื่อ GA36 wks และมีการสื่อสารส่งต่อข้อมูลกับห้องคลอด3.ห้องคลอดจัดทำแนวทางการดูแลระยะรับใหม่ มีแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับผู้คลอดที่เฝ้าระวังการเกิดภาวะBirth asphyxia แบ่งความเสี่ยงออกเป็นAntepartumและIntrapartum ส่งต่อถ้าพบความเสี่ยงสูง มีแบบประเมิน CPD score  กรณีรับไว้ดูแลรอคลอด ติดตามดู FHS/UC ทุก1ชม.ในระยะ latent phase และทุก 30 นาทีถึง 1 ชม.ในระยะ active phase  ประเมิน EFM ซ้ำในกลุ่มที่มีถุงน้ำคร่ำแตก กลุ่มที่มี thick meconium จะได้รับการส่งต่อ กรณีผลEFM ผิดปกติมีการทำintrauterineresuscitation การดูแลระยะที่2 มีการmonitor FHS ตลอดระยะการเบ่งคลอด และรายงานแพทย์มารอรับเด็กในกลุ่มเสี่ยง มีระบบ 2ndcall เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2ของการคลอดในเวรดึก 4.การพัฒนาด้านบุคลากร พัฒนาการแปลผล EFM ตามหลัก WHO , ซ้อมNCPR และฝึกทักษะการ NCPR ทุกเดือน ส่งเจ้าหน้าไปอบรมฟื้นฟูทักษะการช่วยคลอดฉุกเฉิน มีระบบการติดตามประเมินผลรายงานการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดทุกเดือน5.ด้านสถานที่และเครื่องมือ มีการเตรียมความพร้อมใช้อุปกรณ์และจัดทำ flow NCPR ไว้ในห้องคลอดเพื่อง่ายต่อการให้การช่วยเหลือและในปี 2566 มีจัดซื้อเครื่องมือ Neo puff Infant T-piece มาใช้ในหน่วยงาน 6.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลผลการดำเนินงาน พบว่าปี 2561 -2563ไม่พบภาวะขาดออกซิเจนในทารก  ปี 2564พบภาวะขาดออกซิเจนในทารก 2 ราย คิดเป็น 15.03 :1,000 การเกิดมีชีพ และปี 2565 พบภาวะขาดออกซิเจนในทารก1 ราย คิดเป็น 7.46 :1,000 การเกิดมีชีพ ไม่มีทารกตายจากการขาดออกซิเจน  จากการทบทวน case ที่พบภาวะขาดออกซิเจนในทารกในปี2564และปี 2565 เกิดในกลุ่ม Active case ทั้ง 3 ราย จึงมีการวางระบบในการดูแลสิ่งที่ต้องประเมินในกรณี active case คือ FHS , EFW ,V/S , เตรียมอุปกรณ์รับเด็ก ซักประวัติการตั้งครรภ์การคลอดในครรภ์ก่อนและภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์จะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันและดูแลภาวะขาดออกซิเจนในทารกตั้งแต่กระบวนการฝากครรภ์ถึงกระบวนคลอดมีแนวทางปฏิบัติและระบบการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้นส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกลดลง

 สาระสำคัญ

ชื่อผลงาน :  การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อลดภาวะ BirthAsphyxia ในทารกแรกเกิด
เจ้าของผลงาน : นางสาวปรานี  อสิพงษ์ งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่
ผู้นำเสนอ
: นางสาวปรานี  อสิพงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทนำ :ภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการคลอด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตายของทารกหรือมีผลทำให้ทารกที่รอดชีวิตมา เจ็บป่วยและพิการ สำหรับโรงพยาบาลปรางค์กู่กำหนดให้มีการเกิดภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดได้ไม่เกิน15:1,000 การเกิดมีชีพ ข้อมูลในปี2546 พบว่า ทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจน จำนวน 26 ราย คิดเป็น 85 : 1000 การเกิดมีชีพมีทารกแรกเกิดเสียชีวิต 1 ราย ดังนั้นทีมจึงได้มุ่งเน้นพัฒนาระบบและรูปแบบการพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบทมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและดูแลภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดโดยมีเป้าหมาย1.ลดอัตราการเกิดภาวะ Birth Asphyxia Apgar scoreที่ 1 นาที 7 น้อยกว่า 15: 1,000 การเกิดมีชีพ2.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนด

วิธีการศึกษา/การดำเนินงาน

เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบเพื่อป้องกันและดูแลภาวะขาดออกซิเจนในทารก โดยนำแนวทางปฏิบัติมาใช้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่
ตั้งแต่ปี 25
61 จนถึงปี 2565  เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

วิธีดำเนินการ
1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับแผนกฝากครรภ์นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง
2.แผนกฝากครรภ์มีแบบคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีการพัฒนาสอนฝึกทักษะการ ultrasound ดูส่วนนำโดยแพทย์ให้พยาบาลเมื่อ GA 36 wks
ในมารดาที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต้อง u/s ดูส่วนนำซ้ำเพื่อเฝ้าระวังกลุ่ม abnormal presentation และมีการสื่อสารส่งต่อข้อมูลกับห้องคลอด
3.ห้องคลอดจัดทำแนวทางการดูแลระยะรับใหม่
มีแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับผู้คลอดแบ่งความเสี่ยงออกเป็นAntepartumและIntrapartum ส่งต่อถ้าพบความเสี่ยงสูง การนำแบบประเมิน CPD score มาใช้เพื่อเฝ้าระวังการคลอดติดขัดและวางแผนการคลอดที่เหมาะสม  การultrasound ดูน้ำหนักทารกเมื่อวัด HF ได้ 35 cm ขึ้น กรณีรับไว้ดูแลรอคลอด ให้การดูแลตาม CPG โดยติดตามดู FHS/UC ทุก 1ชม.ในระยะ latent phase และทุก 30 นาทีถึง 1 ชม.ในระยะ activephase  ประเมิน EFM ซ้ำในกลุ่มที่มีถุงน้ำคร่ำแตก กลุ่มที่มี thick meconium จะได้รับการส่งต่อ กรณีผลEFM ผิดปกติมีการทำintrauterine resuscitationทุกราย การดูแลระยะที่ 2 มีการmonitor FHS ตลอดระยะการเบ่งคลอดและรายงานแพทย์มารอรับเด็กในกลุ่มเสี่ยง มีระบบ 2nd call เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2ของการคลอดในเวรดึก
4.การพัฒนาด้านบุคลากร พัฒนาการแปลผล EFM ตามหลัก WHO , ซ้อม NCPR และฝึกทักษะการ NCPR ทุกเดือน ส่งเจ้าหน้าไปอบรมฟื้นฟูทักษะการช่วยคลอดฉุกเฉิน 
กรณีที่มีการส่งต่อจะมีการประสานงานกับโรงพยาบาลแม่ข่ายมีระบบการติดตามประเมินผลรายงานการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดทุกเดือน
กรณีที่มีการส่งต่อจะมีการประสานงานกับโรงพยาบาลแม่ข่ายมีระบบการติดตามประเมินผลรายงานการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดทุกเดือน
5.ด้านสถานที่และเครื่องมือ มีการเตรียมความพร้อมใช้อุปกรณ์และจัดทำflow NCPR ไว้ในห้องคลอดเพื่อง่ายต่อการให้การช่วยเหลือและในปี 2566มีจัดซื้อเครื่องมือ Neo puff Infant T-piece มาใช้ในหน่วยงาน
6.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผล

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *