กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดัน

นางสาวอธิญา  ก้อนคำ   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทคัดย่อ

       ปัญหาภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อย  แต่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของประเทศไทย  และพบอัตราทุพพลภาพสูง  จึงจำเป็นที่จะต้องให้การรักษาและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้ให้ทันท่วงที  เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตของมารดาและทารก  ซึ่งทางโรงพยาบาลปรางค์กู่เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง  ไม่มีสูติแพทย์  ไม่มีศัลยแพทย์  ที่สามารถให้การผ่าคลอดทันทีเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลให้ยาลดความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงก่อนส่งต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่าย  และด้วยภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ไม่บ่อย  การดูและการเตรียมยาจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้  ฉะนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการให้ยาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว  ทางเจ้าหน้าที่ห้องคลอดจึงได้จัดทำนวัตกรรม  กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดันขึ้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว  ถูกต้อง  ปลอดภัย  และป้องกันความผิดพลาดในการดูแลให้ยาตามแนวทางการรักษาดังกล่าว   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความผิดพลาดและสามารถให้ยาได้อย่างสะดวกรวดเร็วในการให้ยาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงของเจ้าหน้าที่  เป้าหมายไม่พบอุบัติการณ์การให้ยาผิดพลาดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง = 0 , หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงหลังการวินิจฉัยภายใน 10 นาที = 100 %,  เจ้าหน้าที่พยาบาลมีความพึงพอใจในการใช้นวตกรรม  = 100 กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในรพ.ปรางค์กู่ ปีงบประมาณ 2563 – 2565 ( วันที่ 21 กันยายน 2563 – 20 มิถุนายน 2565)  จำนว 8 ราย  วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์  1.ประชุมทีมงานห้องคลอดทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง  แนวทางระบบการดูแลให้ยาในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง  โดยอ้างอิงวิชาการจากกรมการแพทย์และศูนย์อนามัยที่ 10  2. จัดหากล่องพลาสติกมีฝาปิด  และมีหูจับขนาดพกพาได้  3. จัดเตรียมยา ยากันชัก (MgSO4), ยาลดความดันโลหิตสูง (Hydralazine) 4. จัดทำแนวทางการบริหารยาติดที่กล่องนวกรรม  เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว  และป้องกันข้อผิดพลาด (Human error) ในการให้ยาลดความดันโลหิตสูง  การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์   เมื่อใช้นวกรรม กล่องยาสะกิดใจ  ลดความดันในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงทุกราย  พบว่า  ไม่พบอุบัติการณ์การให้ยาผิดพลาดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง = 0,  หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงหลังการวินิจฉัยภายใน 10 นาที = 100 % มีความสะดวกและรวดเร็วในการให้ยา  และเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในการใช้นวตกรรม =100%  ประโยชน์และการนำไปใช้ การใช้นวตกรรม  กล่องยาสะกิดใจ  ลดความดัน  เป็นกล่องยาที่ใช้ได้จริงในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง  ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานของเจ้าหน้าที่  มีความถูกต้องป้องกันความผิดพลาดจากการติดแนวทางการให้ยาไว้ที่กล่องนวตกรรม  และยังส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัยได้รับยาที่ถูกต้องตามแนวทางการรักษาก่อนการส่งต่ออีกด้วย  ซึ่งโอกาสพัฒนาต่อไปอาจจะมีการพัฒนานวตกรรมกล่องต่างๆ ขึ้น เช่น กล่องให้ยาสำหรับหญิงเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด  กล่องให้ยาหรือกล่องแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยขึ้นเป็นต้น  เพื่อให้เกิดการดูแลที่ถูกต้อง  รวดเร็ว  ป้องกันความผิดพลาดในการดูแล  และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ

สาระสำคัญ

ชื่อสิ่งประดิษฐ์ : กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดัน
ชื่อผู้ประดิษฐ์/คิดค้น : นางสาวอธิญา  ก้อนคำ   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ผู้นำเสนอ : นางสาวอธิญา  ก้อนคำ   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทนำ : ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อย  แต่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของประเทศไทย  และพบอัตราทุพพลภาพสูง  จึงจำเป็นที่จะต้องให้การรักษาและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้ให้ทันท่วงที  เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตของมารดาและทารก  ซึ่งทางโรงพยาบาลปรางค์กู่เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง  ไม่มีสูติแพทย์  ไม่มีศัลยแพทย์  ที่สามารถให้การผ่าคลอดทันทีเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลให้ยาลดความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงก่อนส่งต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่าย  และด้วยภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ไม่บ่อย  การดูและการเตรียมยาจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้  ฉะนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการให้ยาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว  ทางเจ้าหน้าที่ห้องคลอดจึงได้จัดทำนวัตกรรม  กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดันขึ้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว  ถูกต้อง  ปลอดภัย  และป้องกันความผิดพลาดในการดูแลให้ยาตามแนวทางการรักษาดังกล่าว  

วัตถุประสงค์ : – เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการให้ยาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
                         – เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการให้ยาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

เป้าหมาย :  – ไม่พบอุบัติการณ์การให้ยาผิดพลาดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง = 0
               –  หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงหลังการวินิจฉัยภายใน 10 นาที = 100 %
               –  เจ้าหน้าที่พยาบาลมีความพึงพอใจในการใช้นวตกรรม  = 100 %

กลุ่มตัวอย่าง หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในรพ.ปรางค์กู่ ปีงบประมาณ 2563 – 2565 ( วันที่ 21 กันยายน 2563 – 20 มิถุนายน 2565)  จำนวน 8 ราย
วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ 
1.ประชุมทีมงานห้องคลอดทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง  แนวทางระบบการดูแลให้ยาในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง  โดยอ้างอิงวิชาการจากกรมการแพทย์และศูนย์อนามัยที่ 10
2. จัดหากล่องพลาสติกมีฝาปิด  และมีหูจับขนาดพกพาได้  
3. จัดเตรียมยาและจัดหากล่องเพื่อใช้ในการใส่ยา ยากันชัก (MgSO4), ยาลดความดันโลหิตสูง (Hydralazine) 4. จัดทำแนวทางการบริหารยาติดที่กล่องนวกรรม  เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว  และป้องกันข้อผิดพลาด (Human error) ในการให้ยาลดความดันโลหิตสูง  
การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์ :  หลังจากการใช้นวกรรม กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดันในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงทุกราย  พบว่า  ไม่พบอุบัติการณ์การให้ยาผิดพลาดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง = 0,  หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงหลังการวินิจฉัยภายใน 10 นาที =100%  มีความสะดวกรวดเร็วในการให้ยา  และเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในการหยิบใช้  นวัตกรรม  =100% 

ประโยชน์และการนำไปใช้ การใช้นวตกรรม  กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดัน เป็นกล่องยาที่ใช้ได้จริงในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง  ทั้งยังมีความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานของเจ้าหน้าที่  มีความถูกต้องป้องกันความผิดพลาดจากการติดแนวทางการให้ยาไว้ที่กล่องนวตกรรม  และยังส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัยได้รับยาที่ถูกต้องตามแนวทางการรักษาก่อนการส่งต่ออีกด้วย  ซึ่งโอกาสพัฒนาต่อไปอาจจะมีการพัฒนานวตกรรมกล่องต่างๆ ขึ้น เช่น กล่องให้ยาสำหรับหญิงเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด  กล่องให้ยาหรือกล่องแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยขึ้นเป็นต้น  เพื่อให้เกิดการดูแลที่ถูกต้อง  รวดเร็ว  ป้องกันความผิดพลาดในการดูแล  และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *