พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่มีปัญหาภาวะ Pneumonia เพื่อลดอัตราการเกิดRespiratory Failure ใน Cohort ward  โรงพยาบาลปรางค์กู่

นางสุปราณี  ศรีหะโคตร์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ตึกผู้ป่วย Cohort  โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ

        ภาวะ Respiratory failure เป็นภาวะที่ระบบหายใจไม่สามารถทำงานได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเนื่องจากระบบหายใจเสื่อมลง ในผู้ป่วย Covid-19 มักพบการเกิดภาวะ Respiratory failure ในผู้ป่วยที่มีปัญหา Pneumonia ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วย Covid-19 เสียชีวิตมากที่สุด สถิติผู้ป่วย Covid-19 ใน cohort ward  โรงพยาบาลปรางค์กู่ ปี 2564 จำนวน 930 ราย มีปัญหา Pneumonia จำนวน 240 ราย เกิดภาวะ Respiratory failure จำนวน 3 ราย คิดเป็น 1.25 % เสียชีวิตหลังการส่งต่อโรงพยาบาลศรีสะเกษ 1 ราย และเนื่องจากศักยภาพโรงพยาบาลปรางค์กู่ ไม่มีเครื่องช่วยหายใจและไม่ได้เปิดการให้บริการหอผู้ป่วยหนัก  ทีมจึงพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่มีปัญหาภาวะ Pneumonia เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Respiratory failure เป้าหมาย < 1% กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัย Covid -19 ที่นอนพักรักษาตัวใน Cohort ward โรงพยาบาลปรางค์กู่ ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2564 – 30 พฤษภาคม 2565 เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด วิธีการดำเนินงาน 1.ประชุมทีมผู้ดูแลใน Cohort ward ร่วมกับองค์กรแพทย์ ในการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะ Respiratory failure  2.จัดทำแนวทางการประเมิน การประเมินซ้ำตามกลุ่มสี (สีเขียว สีเหลือง สีแดง) กรณีมี O2sat < 96% กำหนดให้ประเมินซ้ำทุก 15-30 นาที กรณีมี Exercise Induce Hypoxia positive ให้ประเมิน O2 sat ซ้ำทุก 1 ชม.จนกว่าจะ Stable  3.กำหนดการประเมิน Exercise Induce Hypoxia แรกรับทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามและประเมินทุกวันในกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและฝึกทักษะการประเมิน Exercise Induce Hypoxia ให้กับพยาบาลใน cohort ward ทุกคน  4. จัดทำแนวทางการให้การพยาบาลผู้ป่วย Covid-19 ตามกลุ่มสี (สีเขียว สีเหลือง สีแดง) 5 .จัดทำเกณฑ์การรายงานแพทย์ในผู้ป่วย Covid-19 ในกรณี EIH positive หรือ O2sat < 96% ให้รายงานแพทย์ทันทีเพื่อปรับแผนการรักษาให้รวดเร็ว 6.จัดหาเครื่อง HFNC สำหรับผู้ป่วยที่ให้ o2 low flow แล้วไม่สามารถ Keep O2sat 96% ขึ้นไปและจัดหาอุปกรณ์ในการให้ออกซิเจนให้เพียงพอ 7.จัดให้มีระบบ Emergency call กรณีใส่ท่อช่วยหายใจ 8.คืนข้อมูลอุบัติการณ์การเกิดภาวะ respiratory failure ให้กับทีม PCT และร่วมกับทีม PCT ในการกำหนดแนวทางการจัดคิว CXR และการจ่ายยาในกลุ่มผู้ป่วยที่รอเตียงที่บ้าน 9.จัดทำแนวทางการส่งต่อในผู้ป่วย Covid-19 10.มีระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในการนำมาปรับปรุงระบบงาน ผลการดำเนินงาน ปี 2565 (1 ตุลาคม 2564 -31 พฤษภาคม 2565) ผู้ป่วย Covid-19 ที่นอนพักรักษาตัวใน Cohort ward รพ.ปรางค์กู่จำนวน 1,062 ราย มีภาวะ Pneumonia จำนวน 466 ราย เกิดภาวะ Respiratory failure จำนวน 2 ราย คิดเป็น 0.43% เสียชีวิตหลังการส่งต่อ รพ.ศรีสะเกษ 1 ราย จากการทบทวนพบในผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวานร่วมกับ Nephrotic syndrome ที่ให้ยา Steroid จึงทบทวนร่วมกับทีมชุมชนในการเข้าถึงบริการที่รวดเร็วในกลุ่มผู้ป่วย Immunocompromised ให้เข้าถึงการตรวจ ATK หรือ PCR ที่รวดเร็วเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินและรักษาที่รวดเร็ว การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Covid-19 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Respiratory Failure ตั้งแต่กระบวนการประเมินจนถึงกระบวนการดูแลรักษา การมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนการสื่อสารกับทีมดูแลและการทบทวนอุบัติการณ์เพื่อปรับกระบวนการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะ Respiratory Failure ในผู้ป่วย Covid-19 ลดลง

สาระสำคัญ

ชื่อผลงาน :  พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่มีปัญหาภาวะ Pneumonia เพื่อลดอัตราการเกิดRespiratory Failure ใน Cohort ward  โรงพยาบาลปรางค์กู่
เจ้าของผลงาน : นางสุปราณี  ศรีหะโคตร์ ตึกผู้ป่วย Cohort  โรงพยาบาลปรางค์กู่
ผู้นำเสนอ : นางสุปราณี  ศรีหะโคตร์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  , Tel 045-697050 ต่อ 134

บทนำ : ภาวะ Respiratory failure เป็นภาวะที่ระบบหายใจไม่สามารถทำงานได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเนื่องจากระบบหายใจเสื่อมลง ในผู้ป่วย Covid-19 มักพบการเกิดภาวะ Respiratory failure ในผู้ป่วยที่มีปัญหา Pneumonia ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วย Covid-19 เสียชีวิตมากที่สุด สถิติผู้ป่วย Covid-19 ใน cohort ward  โรงพยาบาลปรางค์กู่ ปี 2564 จำนวน 930 ราย มีปัญหา Pneumonia จำนวน 240 ราย เกิดภาวะ Respiratory failure จำนวน 3 ราย คิดเป็น 1.25 % เสียชีวิตหลังการส่งต่อโรงพยาบาลศรีสะเกษ 1 ราย และเนื่องจากศักยภาพโรงพยาบาลปรางค์กู่ ไม่มีเครื่องช่วยหายใจและไม่ได้เปิดการให้บริการหอผู้ป่วยหนัก  ทีมจึงพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่มีปัญหาภาวะ Pneumonia เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Respiratory failure เป้าหมาย < 1%

วิธีการศึกษา/การดำเนินงาน

เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่มีปัญหาภาวะ Pneumonia เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Respiratory failure ในผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัย Covid -19 ที่นอนพักรักษาตัวใน Cohort ward โรงพยาบาลปรางค์กู่ ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2564 – 30 พฤษภาคม 2565 เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

วิธีดำเนินการผลการดำเนินงาน
1.ประชุมทีมผู้ดูแลใน Cohort ward ร่วมกับองค์กรแพทย์ ในการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะ Respiratory failure
2.จัดทำแนวทางการประเมิน การประเมินซ้ำตามกลุ่มสี (สีเขียว สีเหลือง สีแดง) กรณีมี O2sat < 96% กำหนดให้ประเมินซ้ำทุก 15-30 นาที กรณีมี Exercise Induce Hypoxia positive ให้ประเมิน O2 sat ซ้ำทุก 1 ชม.จนกว่าจะ Stable 
3.กำหนดการประเมิน Exercise Induce Hypoxia แรกรับทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามและประเมินทุกวันในกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและด้านบุคลากร มีการฝึกทักษะการประเมิน Exercise Induce Hypoxia ให้กับพยาบาลใน cohort ward ทุกคน 
4.จัดทำแนวทางการให้การพยาบาลผู้ป่วย Covid-19 ตามกลุ่มสี (สีเขียว สีเหลือง สีแดง)
5.จัดทำเกณฑ์การรายงานแพทย์ในผู้ป่วย Covid-19 ในกรณี EIH positive หรือ O2sat < 96% ให้รายงานแพทย์ทันทีเพื่อปรับแผนการรักษาให้รวดเร็ว
6.จัดหาเครื่อง HFNC สำหรับผู้ป่วยที่ให้ o2 low flow แล้วไม่สามารถ Keep O2sat 96% ขึ้นไปและจัดหาอุปกรณ์ในการให้ออกซิเจนให้เพียงพอ
7.จัดให้มีระบบ Emergency call กรณีใส่ท่อช่วยหายใจ
8.คืนข้อมูลอุบัติการณ์การเกิดภาวะ respiratory failure ให้กับทีม PCT และร่วมกับทีม PCT ในการกำหนดแนวทางการจัดคิว CXR และการจ่ายยาในกลุ่มผู้ป่วยที่รอเตียงที่บ้าน
9.จัดทำแนวทางการส่งต่อในผู้ป่วย Covid-19
10.มีระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในการนำมาปรับปรุงระบบงาน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *