การพัฒนาปรับแนวทางปฏิบัติใช้เพื่อป้องกันแผลฝีเย็บติดเชื้อในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่

นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111

 

บทคัดย่อ

           แผลฝีเย็บติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนของแผลที่เกิดจากการตัดฝีเย็บเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ส่งผลกระทบต่อมารดาหลังคลอดเช่นการสูญเสียเลือดอาการเจ็บปวดใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดแผลฝีเย็บแยกแผลหายช้า ซึ่งผู้คลอดต้องนอน โรงพยาบาลหลังคลอดนานขึ้นสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นปีงบประมาณ 2565 ห้องคลอด ร.พ.ปรางค์กู่ พบมารดาหลังคลอดติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ 1 ราย พบในมารดาครรภ์แรกแผลฝีเย็บฉีกขาดลึกเย็บแผลนานมารดามีโรคร่วมเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ไม่ได้รับยา ATB ป้องกันหลังคลอดทีมจึงได้ทบทวนกับสหวิชาชีพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาปรับระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อ   2.นำระเบียบปฏิบัติมาใช้ในการดูแลมารดาหลังลอดที่มีแผลฝีเย็บเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อโดยมีเป้าหมาย 1.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอด 2.ผู้รับบริการปลอดภัยไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บกลุ่มตัวอย่างมารดาที่มารับบริการคลอดในปีงบประมาณ 2566 ตุลาคม 2565- 20 มกราคม 2566 รวมทั้งหมด 40 รายวิธีการดำเนินงาน 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อพัฒนาปรับระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดป้องกันการติดเชื้อ 2. พัฒนาปรับปรุงและนำระเบียบปฏิบัติมาใช้ในการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดป้องกันการติดเชื้อ 3.กำกับติดตามให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอด 4.จัดทำ flow การพิจารณาให้ยา ATB ในมารดาหลังคลอดป้องกันการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ 5.มีระบบการดูแลมารดาต่อเนื่องหลังคลอดนัดติดตามอาการ 3 วันหลังจำหน่ายในมารดาที่แผลฝีเย็บเสี่ยงต่อแผลแยกแผลติดเชื้อหลังจำหน่ายโดยนัดตรวจที่ห้องคลอดรพ.ปรางค์กู่ประเมินแผลมารดาหลังคลอด 6.มีการส่งต่อข้อมูลมารดาหลังคลอดให้กับรพสต.ใกล้บ้านเพื่อติดตามเยี่ยมอาการมารดาหลังคลอดตามเกณท์โดยส่งข้อมูลทางไลน์แม่และเด็ก คปสอ.ปรางค์กู่ และส่งข้อมูลทาง thai coc 7.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติเป็นร้อยละ ผลการดำเนินงาน พบอุบัติการณ์การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดปี 2565  1 รายคิดเป็น 1.149% ของมารดาที่มีแผลฝีเย็บทั้งหมด 87รายพบในมารดาครรภ์แรกแผลฝีเย็บฉีกขาดลึกเย็บแผลนานมารดามีโรคร่วมเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ไม่ได้รับยา ATB ร่วมกับหน่วยงานมีการกำกับเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลทำให้มารดาหลังคลอดในรายที่จำเป็นต้องได้รับยา ATB ตามแนวทางไม่ได้รับยา ATB จึงส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าจากการพัฒนาปรับและนำแนวทางปฏิบัติมาใช้เฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บในหน่วยงานห้องคลอดการกำกับติดตามให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามแนวทางช่วยให้ผู้รับบริการปลอดภัยไม่พบอุบัติการณ์ การติดเชื้อแผลฝีเย็บในหน่วยงานห้องคลอด รพ.ปรางค์กู่ในปี 2566 การร่วมมือแก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่าย มีผลทำให้การแก้ไขปัญหาประสบผลสำเร็จเกิดการทำงานเป็นทีม ทีมเข้มแข็งเป็นเหตุให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นชัดเจน

สาระสำคัญ

ชื่อผลงาน : การพัฒนาปรับแนวทางปฏิบัติใช้เพื่อป้องกันแผลฝีเย็บติดเชื้อในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ เจ้าของผลงาน : นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและทีมงานห้องคลอดรพ.ปรางค์กู่

ผู้นำเสนอ : นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ติดต่อ: งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ tell 045-697050 ต่อ 111

บทนำ : แผลฝีเย็บติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนของแผลที่เกิดจากการตัดฝีเย็บเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ส่งผลกระทบต่อมารดาหลังคลอดเช่นการสูญเสียเลือดอาการเจ็บปวดใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดแผลฝีเย็บแยกแผลหายช้า ซึ่งผู้คลอดต้องนอน โรงพยาบาลหลังคลอดนานขึ้นสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นปีงบประมาณ 2565 พบมารดาหลังคลอดติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ 1 รายในมารดาครรภ์แรกแผลฝีเย็บฉีกขาดลึกเย็บแผลนานมารดามีโรคร่วมเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ไม่ได้รับยา ATB ป้องกันหลังคลอดทีมจึงได้ทบทวนกับสหวิชาชีพจัดทำปรับแนวทางข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องให้ยาATBและนำแนวทางปฎิบัติมาใช้ในมารดาหลังคลอดที่มีแผลฝีเย็บเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดและให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามแนวทางปฎิบัติที่กำหนดได้ถูกต้อง

วัตถุประสงค์การศึกษา :

1. พัฒนาปรับระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

2. นำระเบียบปฏิบัติมาใช้ในการดูแลมารดาหลังลอดที่มีแผลฝีเย็บเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

เป้าหมาย :

1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอด

          2. ผู้รับบริการปลอดภัยไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ

กลุ่มตัวอย่าง มารดาที่มารับบริการคลอดในปีงบประมาณ 2566 ตุลาคม 2565- 20 มกราคม 2566 รวมทั้งหมด 40 ราย

วิธีการศึกษา :

1. ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อพัฒนาปรับปรุงระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บ

2. พัฒนาปรับปรุงและนำระเบียบปฏิบัติมาใช้ในการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดป้องกันการติดเชื้อ

3. กำกับติดตามให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามระเบียบปฎิบัติการดูแลแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอด

4. จัดทำ flow การพิจารณาให้ยา ATB ในมารดาหลังคลอดป้องกันการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ

5. มีระบบการดูแลมารดาต่อเนื่องหลังคลอดนัดติดตามอาการ 3 วันหลังจำหน่ายในมารดาที่แผลฝีเย็บเสี่ยงต่อแผลแยกแผลติดเชื้อหลังจำหน่ายโดยนัดตรวจที่ห้องคลอด รพ.ปรางค์กู่ประเมินแผลมารดาหลังคลอด

6. มีการส่งต่อข้อมูลมารดาหลังคลอดให้กับรพสต.ใกล้บ้านเพื่อติดตามเยี่ยมอาการมารดาหลังคลอดตามเกณฑ์โดยส่งข้อมูลทางไลน์แม่และเด็กคปสอ.ปรางค์กู่และส่งข้อมูลทาง Thai COC

7. เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติเป็นร้อยละ

อภิปรายสรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนาปรับและนำแนวทางปฏิบัติมาใช้เฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บในหน่วยงานห้องคลอดการกำกับติดตามให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามแนวทางช่วยให้ผู้รับบริการปลอดภัยไม่พบอุบัติการณ์ การติดเชื้อแผลฝีเย็บในหน่วยงานห้องคลอด รพ.ปรางค์กู่ การร่วมมือแก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่าย มีผลทำให้การแก้ไขปัญหาประสบผลสำเร็จเกิดการทำงานเป็นทีม ทีมเข้มแข็งเป็นเหตุให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นชัดเจน

เอกสารอ้างอิงกระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานสาธารณสุขเขต7. (2543). คู่มือการปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กการฝากครรภ์การคลอดและหลังคลอด. ม.ป.ท
                          นุชนารถ เขียนนุกูล, สินจัย เขื่อนเพชร, วรรณวรา ตัณฑ์กุลรัตน์ และพรนภา เอี่ยมลออ. (2562). ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลฝีเย็บอักเสบในผู้คลอด. ค้นเมื่อ 16 มกราคม                              2566, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/download/246727/167740/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *