ผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลปรางค์กู่

นางจินดาพร พรมไธสง พว.ชำนาญการ
โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

         จากการทบทวนหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่พบอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในปี2560=1.58% ปี2561=1.05  ปี 2562=1.85%ปัญหาที่พบคือไม่มีแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ทารกไม่ได้รับวัคซีนHBIG และไม่ได้รับการติดตามต่อเนื่อง ในปี 2563 จึงได้นำแนวทางปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกของกรมควบคุมโรคเข้ามาใช้โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ในคปสอ.ปรางค์กู่และมีผล HBsAg positive ก่อนอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ระยะเวลาดำเนินการ ปี งบประมาณ 2563-2565  วิธีการศึกษา นำแนวทางปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกมาเรียนรู้นำสู่การปฏิบัติมอบหมายงานให้ทีมที่เกี่ยวข้องได้แก่งานเภสัชกรรม แผนก ANC แผนกห้องคลอดหลังคลอดจากนั้นดำเนินการตามแนวทางการดูแลเก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามผลการตรวจเลือดทารก ผลการดำเนินงาน  ปี 2563-2565 ไม่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กอายุครบ12เดือนจากจำนวนทารกที่คลอดจากแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทั้งหมดจำนวน 5 รายอภิปราย สรุปและข้อเสนอแนะ :  จากการดำเนินงานตามแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กหลังคลอดได้โดยติดตามเมื่ออายุครบ12เดือน เด็กที่คลอดจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อและได้รับการดูแลตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงกระบวนการดูแลของพยาบาลในระหว่างการคลอด การให้วัคซีนที่จำเป็นโดยเร็วและทารกได้รับวัคซีนตามโปรแกรมอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

              สาระสำคัญ
ชื่อผลงาน:  ผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรค
ไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลปรางค์กู่
เจ้าของผลงาน :นางจินดาพร พรมไธสง   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ผู้นำเสนอ : นางจินดาพร พรมไธสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  , Tel 0885941810

 

 

บทนำ : ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมากกว่า 350 ล้านคน และกว่า 260 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 75 อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย ดังนั้น ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อาฟริกา รวมทั้งประเทศไทยจึงเป็นแหล่งที่มีโรคไวรัสตับอักเสบบีชุกชุมมาก โดยประชากรประมาณร้อยละ 3-6 มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งแสดงว่าประชากรประมาณ 2-4 ล้านคน มีเชื้อไวรัสบีที่พร้อมจะแพร่และก่อให้เกิดความเจ็บป่วยกับผู้อื่น ในประเทศไทยพบว่า มารดาเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ทารกจะมีโอกาสติดโรคจากมารดาได้ประมาณร้อยละ 40-90 การติดเชื้อของทารกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระหว่างการคลอด การป้องกันในทารกแรกเกิดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตัดวงจรดังกล่าว และลดความชุกชุมของไวรัสตับอักเสบบีลงได้ จากการทบทวนในหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่พบอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในปี2560=1.58% ปี2561=1.05  ปี 2562=1.85%ปัญหาที่พบคือไม่มีแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก กระบวนการป้องกันในห้องคลอดทารกไม่ได้รับวัคซีนHBIG และไม่ได้รับการติดตามต่อเนื่อง ในปี 2563 จึงได้นำแนวทางปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกของกรมควบคุมโรคเข้ามาใช้ในการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก
ตัวชี้วัด: 1. อัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีผลการตรวจ HBsAg Positive ทุกราย ได้รับการตรวจ HBeAg
3.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีผลการตรวจ HBeAg Positive ได้รับยาต้านไวรัส
4.ทารกแรกเกิดที่คลอดจากมารดาที่มีผล HBsAg Positive ทุกรายได้รับ  HBIG0.5ml และHB vaccine ครบตามโปรแกรมอีก 4 ครั้ง (รวมกับแรกเกิดเป็น 5 ครั้ง)   
กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ใน คปสอ.ปรางค์กู่และมีผล HBsAg positive ก่อนอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์  ระยะเวลาดำเนินการ ปี งบประมาณ 2563-2565

 

 

วิธีการศึกษา :
1.ทบทวนข้อมูลการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่ ทบทวนระบบงานและปัญหาที่พบ
2.ศีกษาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก
3.จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยแผนกฝากครรภ์ ห้องชันสูตร งานเภสัชกรรม ห้องคลอด/ห้องหลังคลอด เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
4.ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดโดยมี Flow chart /WI
5.เก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดและติดตามเจาะเลือดเด็กเมื่ออายุครบ 12 เดือน
6.รายงานผลการดำเนินงานให้ทีม PCT ในแม่และเด็กรับทราบ

 

 

 

 

    ผลการดำเนินงาน เก็บข้อมูลในปีงบประมาณ 2563-2565
     1. อัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี=0  
     2.หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดมีผล HBsAg positive ได้รับการตรวจ HBeAg ครบ 100% (5ราย) และมีผล HBeAg neg จำนวน 2 ราย HBeAg Positive จำนวน 3 ราย
      3.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีผลการตรวจ HBeAg Positive ได้รับยาต้านไวรัส ครบทั้ง 3 ราย คิดเป็น 100%
      4. เด็กที่คลอดจากแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจำนวน 5 ราย ได้รับ  HBIG0.5ml และHB vaccine เมื่อแรกเกิดตามแนวทางที่กำหนดและได้รับ HB vaccine ตามโปรแกรมอีก 4 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็น 100 %

อภิปราย สรุปและข้อเสนอแนะ :  จากการดำเนินงานตามแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกโดยมีการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย และเมื่อพบว่ามีผล HBsAg positive ได้รับการตรวจ HBeAg, ALT,Creatinine ถ้า HBeAg positive ให้ยา TDF 300 mg เมื่ออายุครรภ์28-32 สัปดาห์ วันละ1ครั้งจนถึง4สัปดาห์หลังคลอด ตรวจ Creatinine หลังเริ่มยา 4 สัปดาห์หากการทำงานของไตผิดปกติส่งพบอายุรแพทย์ เมื่อเข้าสู่กระบวนการคลอดดูแลการคลอดทำคลอดปกติ หลีกเลี่ยงการคลอดโดยสูติศาสตร์หัตถการ เมื่อทารกคลอดให้ HBIG0.5ml และHB vaccine (ให้ HB vaccine ต่อเนื่องเมื่ออายุ1,2,4,6 เดือน ) และตรวจ HBsAg ,Anti –HBs เมื่ออายุ 9-12 เดือน จากการดำเนินงานพบว่าป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กหลังคลอดได้ ส่วนที่ต้องพัฒนาเพิ่มได้แก่เพิ่มความครอบคลุมในการฉีด HB vaccine อีก 3 ครั้งในเด็กที่มีผล HBsAg neg และผลAnti –HBs neg  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก

 เอกสารอ้างอิง:แนวทางปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกของกรมควบคุมโรค

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *