การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
ในโรงพยาบาลปรางค์กู่
นางสาวอธิญา ก้อนคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111
บทคัดย่อ
ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์พบเป็นสาเหตุการตายอันดับ3 ของประเทศไทย และพบอัตราทุพพลภาพสูง จึงจำเป็นที่จะต้องให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนนี้ให้ทันท่วงที ซึ่งส่วนใหญ่จะรักษาโดยการยุติการตั้งครรภ์ในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่รุนแรงเพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตของมารดาและทารก ซึ่งทางโรงพยาบาลปรางค์กู่เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ไม่มีสูติแพทย์ ไม่มีศัลยแพทย์ ที่สามารถให้การผ่าคลอดทันทีเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลรักษา และส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสีย จากการทบทวนอุบัติการณ์ของรพ.ปรางค์กู่ พบปี 2557– 2559 พบในปี 2557 พบ Severe Pre-eclampsia 5 ราย ได้รับยากันชักก่อนส่งต่อ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 ปี 2558 พบ Severe Pre-eclampsia 4 ราย ได้รับยากันชักก่อนส่งต่อ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 ปี 2559 พบ Severe Pre-eclampsia 7 ราย ได้รับยากันชักก่อนส่งต่อ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.86 ซึ่งจากการทบทวนพบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Severe Pre-eclampsia บางรายไม่ได้รับยาลดความดันโลหิตหรือยากันชักก่อนส่งรักษาต่อ อีกทั้งยังพบว่าบุคลากรในหน่วยงานยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการดูแลพยาบาล จากการทำแบบทดสอบความรู้เจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน ในเรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงพบว่าคะแนนความรู้โดยเฉลี่ยได้ 15.75 คะแนน จาก 18 คะแนน คิดเป็น 87.50 % ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเป้าหมายผ่านเกณฑ์=16.20 คะแนน (90%ขึ้นไป) ในหน่วยงานขาดแนวทางการรักษาและการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เป้าหมายอุบัติการณ์หญิงตั้งครรภ์ชักจากภาวะความดันโลหิตสูง = 0 อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง severe pre-eclampsia ได้รับยากันชัก (MgSO4) ทุกรายก่อนได้รับการส่งรักษาต่อ =100% พยาบาลมีความรู้ผ่านเกณฑ์>90% กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในรพ.ปรางค์กู่ ปีงบประมาณ 2560- 20 พฤษภาคม 2562 จำนวน 20 ราย วิธีการดำเนินการ 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับแผนกฝากครรภ์นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2. กำหนดแนวทางระบบการดูแลโดยอ้างอิงวิชาการจากกรมการแพทย์และศูนย์อนามัยที่ 10 3. จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงตั้งแต่แรกรับ 4. แนวทางการให้ยากันชัก (MgSO4), ยาลดความดันโลหิตสูง (Hydralazine) 5.ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมอบรมวิชาการและจัดประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน 6. มีระบบการประสานส่งต่อกับโรงพยาบาลแม่ข่าย และมีระบบติดตามหญิงตั้งครรภ์ภายหลังการคลอดและการส่งต่อ 7. ประเมินเจ้าหน้าที่ทำแบบทดสอบความรู้ ผลการดำเนินงานพบอุบัติการณ์หญิงตั้งครรภ์ชักจากภาวะความดันโลหิตสูง = 0 อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง severe pre-eclampsia ได้รับยากันชัก (MgSO4) ทุกรายก่อนได้รับการส่งรักษาต่อ =100% พยาบาลมีความรู้ผ่านเกณฑ์>90% การนำไปใช้ประโยชน์หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงทุกรายได้รับยากันชักหรือยาลดความดันโลหิตตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มีภาวะชักหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามแนวทางการให้การพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ถูกต้องในแนวทางเดียวกัน
สาระสำคัญ
ชื่อผลงาน:การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
ในโรงพยาบาลปรางค์กู่
เจ้าของผลงาน : นางสาวอธิญา ก้อนคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ผู้นำเสนอ : นางสาวอธิญา ก้อนคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ , Tel 045-697050 ต่อ 111
บทนำ : ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์พบเป็นสาเหตุการตายอันดับ3 ของประเทศไทย และพบอัตราทุพพลภาพสูง จากการทบทวนอุบัติการณ์ของรพ.ปรางค์กู่ พบปี 2557– 2559 พบในปี 2557 พบ Severe Pre-eclampsia 5 ราย ได้รับยากันชักก่อนส่งต่อ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 ปี 2558 พบ Severe Pre-eclampsia 4 ราย ได้รับยากันชักก่อนส่งต่อ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 ปี 2559 พบ Severe Pre-eclampsia 7 ราย ได้รับยากันชักก่อนส่งต่อ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.86 พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Severe Pre-eclampsia บางรายไม่ได้รับยาลดความดันโลหิตหรือยากันชักก่อนส่งรักษาต่อ อีกทั้งยังพบว่าบุคลากรในหน่วยงานยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการดูแลพยาบาลพบว่าคะแนนความรู้โดยเฉลี่ยได้ 15.75 คะแนน จาก 18 คะแนน คิดเป็น 87.50 % ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเป้าหมายผ่านเกณฑ์=16.20 คะแนน (90%ขึ้นไป) ในหน่วยงานขาดแนวทางการรักษาและการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง พัฒนาสมรรถนะของพยาบาลให้มีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงปลอดภัย ได้รับยากันชักหรือยาลดความดันโลหิตตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มีภาวะชักหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามแนวทางการให้การพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ถูกต้องในแนวทางเดียวกัน
วัตถุประสงค์ : – เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
– เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ของพยาบาล
เป้าหมาย : -อุบัติการณ์หญิงตั้งครรภ์ชักจากภาวะความดันโลหิตสูง = 0
– อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง severe pre-eclampsiaได้รับยากันชัก (MgSO4) ทุกรายก่อนได้รับการส่งรักษาต่อ =100%
– พยาบาลมีความรู้ผ่านเกณฑ์>90%
– มีแนวทางปฏิบัติในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในรพ.ปรางค์กู่ ในปี 2560- 20 พฤษภาคม 2562 จำนวน
วิธีการศึกษา : 1. กำหนดแนวทางระบบการดูแลโดยอ้างอิงวิชาการจากกรมการแพทย์และศูนย์อนามัยที่ 10
– จัดทำCPG , Flow chartถึงกระบวนการวินิจฉัยรักษา ตลอดจนกระบวนการให้การพยาบาล
– จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงตั้งแต่แรกรับ ระดับความดันโลหิตสูงที่ประเมินได้(Mild pre-eclampsia / Severe pre-eclampsia)
แนวทางการให้ยากันชัก (MgSO4), ยาลดความดันโลหิตสูง (Hydralazine)
2. ด้านบุคลากร
– ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมอบรมวิชาการ
– จัดประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรับทราบแนวทางการปฏิบัติตาม CPG และFlow chart
– ฝึกทักษะในการให้ยากันชัก (MgSO4), ยาลดความดันโลหิตสูง (Hydralazine)
– ประเมินความรู้เจ้าหน้าที่หลังจัดการประชุม มีการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติ
3. ด้านระบบงาน
– ปรับปรุงแนวทางการดูแลและการเฝ้าระวังตามเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูง
– การจดบันทึกสัญญาณชีพตามแนวทางระดับความเสี่ยง
– การตรวจระดับโปรตีนในปัสสาวะ ชั่งน้ำหนักทุกวัน
– แนวทางการรายงานแพทย์
– การจัดเตรียมความพร้อมใช้ของยากันชัก (MgSO4), ยาลดความดันโลหิตสูง (Hydralazine)
– มีระบบการประสานส่งต่อกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
– มีระบบติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงภายหลังการคลอดและการส่งต่อ
ผลการดำเนินงาน :

อภิปราย สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลปรางค์กู่ ถึงแม้จะมีผลลัพธ์ของการดำเนินงานที่ดีมากขึ้น หากแต่ยังคงต้องมีการพัฒนาแนวทางการดูแลอย่างต่อเนื่องต่อไป เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานจำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้รับบริการมากขึ้น