KM67_2
5/5 ชื่อผลงาน การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรงพยาบาล โรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ชื่อเจ้าของผลงาน นางญาดา ขาวสะอาด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เป้าหมาย ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้(HbA1C น้อยกว่า 7)มากกว่า ร้อยละ 40 ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus :DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจาก การขาดฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลของเซลล์ ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดภาวะน้ำตาลสะสมในกระแสเลือดสูง ผิดปกติ หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดการเสื่อมสภาพ และเกิด ภาวะแทรกซ้อนขึ้น ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยพบว่า สถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้น แปซิฟิก (Western Pacific) ในปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 รอง จาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตามมา และผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อ ภาวะแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกายภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบบ่อย …
KM67_1
การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอปรางค์กู่ พนอม ศรียงยศ พว.ชำนาญการ , มนัสชนก คุณมาศ พว.ชำนาญการ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ. ศรีสะเกษ บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน เป้าหมาย 1.อัตราผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการบำบัดครบ 4 เดือน ร้อยละ 70 2.อัตราการ หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ร้อยละ 92 3.อัตราหยุดเสพต่อเนื่อง 12 เดือน ร้อยละ 60 ระยะเวลาดำเนินการใน ปี2564-2566 กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ บ้านสำโรงปราสาท ตำบล สำโรงปราสาท บ้านสุโข ตำบลพิมาย , บ้านสวาย ตำบลสวาย …
ปี 2567
ทดสอบ
63_14
การพยาบาลผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีโรคอื่นร่วมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษา เจ้าของผลงาน/ผู้นำเสนอ : นางสาววัฒนา เข็มทอง กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ หลักการและเหตุผล : วัตถุประสงค์ : เพื่อหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีโรคอื่นร่วมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน วิธีการดำเนินงาน : ทบทวน ค้นคว้าเอกสาร ตำราวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโรควัณโรคปอดที่มีโรคอื่นร่วม การค้นหาผู้ป่วย การดูแลรักษาพยาบาล การกำกับการกินยาอย่างต่อเนื่อง และการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย นำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ศึกษาโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นหลัก แนวคิดในการให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่าครอบคลุม ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายไทย อายุ 49 ปี มาพบแพทย์ด้วยอาการ ไข้ ไอเรื้อรัง น้ำหนักลด 4 กิโลกรัมใน 1 เดือน เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 เดือน แรกรับ อุณหภูมิร่างกาย 37.3 องศาเซลเซียส ชีพจร 88 ครั้งต่อนาที หายใจ 24 ครั้งต่อนาที …
63_13
การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดกรองและดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าในรพ.ปรางค์กู่ นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการงานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111 บทคัดย่อ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นปัญหาที่สำคัญในมารดาหลังคลอด เนื่องจากมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าจะทำให้มีผลต่อบทบาทหน้าที่เปลี่ยนจากภรรยาเป็นมารดา และเตรียมความพร้อมในการดูแลบุตรภายหลังคลอดจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกเมื่อปีค.ศ.2015พบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนามีอุบัติการณ์การเกิดภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอดร้อยละ20ในประเทศไทยโรคซึมเศร้าหลังคลอดพบประมาณร้อยละ10-15ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอดคือการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดภาวะวิตกกังวล ทัศนคติของมารดาต่อการมีบุตรและการเลี้ยงดูบุตรการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้คาดหวังปัญหาความเครียดในชีวิตระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีอุบัติการณ์มารดามีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงพยายามฆ่าตัวตายพร้อมลูกและมีมารดามีความคิดฆ่าตัวตายจะลงมือทำแล้วแต่สามารถยับยั้งใจตัวเองได้และเนื่องด้วยโรงพยาบาลปรางค์กู่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชแพทย์ปฏิบัติงานเป็นแพทย์ใช้ทุนทำให้ระบบการประเมินซึมเศร้ามารดาหลังคลอดการดูแลวินิจฉัยรักษาการตรวจติดตามนัดมารดายังไม่เป็นระบบชัดเจนการดูแลรักษาตรวจติดตามขึ้นกับดุลพินิจแพทย์ทีมงานจึงร่วมกันพัฒนางานแนวทางปฏิบัติการคัดกรองและดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าเพื่อให้การดูแลมารดาคลอดแบบองค์รวมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพช่วยให้มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าสามารถเผชิญและจัดการความเครียดได้เหมาะสมมีกำลังใจเข้มแข็งตระหนักและเห็นคุณค่าของตนเองสามารถแสดงบทบาทของการเป็นแม่ได้ต่อไปป้องกันการคิดทำร้ายตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำระเบียบปฏิบัติ,flow chart มาใช้ในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มารับบริการในหน่วยงานเป้าหมายเพื่อ 1.ให้มีอัตราการคัดกรองซึมเศร้า100% 2.มารดาหลังคลอดที่ผล9Qคะแนน>=7คะแนนได้รับประเมิน8Qทุกราย 3.ผู้รับบริการได้รับการรักษาเมื่อผลประเมิน9Q>=7คะแนนทุกรายไม่มีอุบัติการณ์การฆ่าตัวตายหลังคลอดกลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่นอนหลังคลอดในระยะเวลา24-48ชั่วโมงหลังคลอดปีงบประมาณ2562และ2563ถึงเดือนมีนาคมจำนวน 246 รายวิธีการดำเนินงานโดย 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับงานสุขภาพจิตชุมชนนำเสนอปัญหาและร่วมกันจัดทำflowchartการประเมินมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้า 2.จัดทำนำระเบียบปฏิบัติการประเมินมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้ามาใช้ในหน่วยงาน 3. มารดาหลังคลอดที่ประเมิน9Q>=7 คะแนนมีปัญหาทางสังคมจิตใจได้รับการดูแลการพูดคุยทำจิตบำบัดโดยพยาบาลPGทุกราย4.มีระบบการส่งต่อข้อมูลให้เครือข่ายออกติดตามเยี่ยมบ้านผ่านระบบCOCและกลุ่มไลน์PCTแม่และเด็กปรางค์กู่5.สรุปประเด็นปัญหาอุปสรรคในการติดตามดูแลมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทุกปี6.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติเป็นร้อยละ ผลการดำเนินงาน อัตราการเข้าถึงบริการคัดกรองซึมเศร้าผู้รับบริการคลอดได้ประเมิน9Q=246รายคิดเป็น100%ไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคิดเป็น96.34%ผล9Qผิดปกติ9รายคิดเป็น3.65% ผู้รับบริการได้ประเมิน 8Qทุกราย ผลการประเมิน8Qปกติ7รายคิดเป็น77.77% ผลประเมิน8Q ผิดปกติ 2รายคิดเป็น 22.22% ผู้รับบริการที่ผล8Qผิดปกติได้รับการดูแล psychotherapy การทำจิตบำบัดและครอบครัวบำบัดโดยพยาบาลPGทำให้ไม่มีอุบัติการณ์การฆ่าตัวตายหลังคลอด การนำไปใช้ประโยชน์ การมีระบบ consultแพทย์เฉพาะทางและการดูแลผู้รับบริการแบบองค์รวมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพช่วยให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลรอบด้านประหยัดเวลาและทรัพยากรลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางพบแพทย์เฉพาะทางทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจและประทับใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน สาระสำคัญ ขื่อผลงาน:การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดกรองและดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าในรพ.ปรางค์กู่ เจ้าของผลงาน: นางรสพร คำโท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและทีมงานห้องคลอดรพ.ปรางค์กู่ ผู้นำเสนอ: นางรสพร คำโท …
63_12
การพยาบาลผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีโรคอื่นร่วมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษา เจ้าของผลงาน/ผู้นำเสนอ : นางสาววัฒนา เข็มทอง กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ หลักการและเหตุผล : วัตถุประสงค์ : เพื่อหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีโรคอื่นร่วมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน วิธีการดำเนินงาน : ทบทวน ค้นคว้าเอกสาร ตำราวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโรควัณโรคปอดที่มีโรคอื่นร่วม การค้นหาผู้ป่วย การดูแลรักษาพยาบาล การกำกับการกินยาอย่างต่อเนื่อง และการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย นำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ศึกษาโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นหลัก แนวคิดในการให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่าครอบคลุม ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายไทย อายุ 49 ปี มาพบแพทย์ด้วยอาการ ไข้ ไอเรื้อรัง น้ำหนักลด 4 กิโลกรัมใน 1 เดือน เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 เดือน แรกรับ อุณหภูมิร่างกาย 37.3 องศาเซลเซียส ชีพจร 88 ครั้งต่อนาที หายใจ 24 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 110/60 …