1.ชื่อผลงาน/โครงการ:
การพพัฒนาการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยSTEMI
2.คำสำคัญ:
การคัดกรองและประเมินผู้ป่วย STEMI
3.สรุปผลงานโดยย่อ:
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นโรคที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างไม่คาดฝันงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลปรางค์กู่ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจึงได้พัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างต่อเนื่องโดยกระบวนการที่สำคัญในการให้บริการ ได้แก่ การคัดกรองและประเมิน
การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น การทำEKGภายใน10 นาทีและวิเคราะห์ผล เพื่อเข้าระบบช่องทางด่วนกระบวนการให้ยาละลายลิ่มเลือด(fast track)และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราเสียชีวิตจากข้อมูลผู้ป่วย STEMI ที่มารับบริการในโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี2560-2562 พบว่าในปี2560มีผู้ป่วยSTEMI 11 รายคัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 4 ราย (36.36%) ปี2561 มีผู้ป่วยSTEMI 7 ราย คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 2 ราย (28.57%) และใน2562 มีผู้ป่วยSTEMI7 ราย คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 3 ราย (42.85%) ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยSTEMIมีจุดเน้นในการจัดผู้ป่วยเข้าระบบช่องทางด่วน(fast tract) โดยเน้นที่คุณภาพการคัดกรองและประเมิน อาการเจ็บหน้าอก และการยืนยันด้วยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่รวดเร็วภายใน10 นาที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา30 นาที
4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร:
โรงพยาบาลปรางค์กู่ 84/2 ม.1 ต.พิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170
5. สมาชิกทีม:
นางสาวทิพวรรณ ศรีโพนทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและทีมงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช
โรงพยาบาลปรางค์กู่
6. เป้าหมาย:
1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่สงสัยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการประเมินเพื่อทำ EKG และแปลผลภายใน 10 นาทีอย่างครอบคลุม
2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว
3. เพื่อลดอุบัติการณ์ Delay diagnosis
4. เพื่อให้ผู้ป่วยที่วินิจฉัย STEMI มีข้อบ่งชี้ในการให้ยา SKได้รับยาภายใน30นาทีหลังได้รับการวินิจฉัย
5. ไม่มีผู้ป่วย STEMI เสียชีวิต
7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ:
จากการทบทวนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม ACS พบว่าผู้ป่วย STEMI ในปี
2560 จำนวน 11ราย พบว่า ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยาSK ไม่ได้ยาภายใน 30 นาที (5/6)= 83.3% ตรวจ EKG ไม่ได้ภายใน10
นาที(4/11) = 36.36 % เกิดภาวะCardiac Arrestและเสียชีวิตที่ER (2/11)= 13.33% ได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างต่อเนื่องและในปี
2560 นั้นผู้ป่วยที่ได้รับยา SK 6 ราย
(มีผู้ป่วยเสียชีวิตขณะให้ยา 1 ราย )ทีม PCT จึงได้มีการทบทวนเหตุการณ์และมีการเพิ่ม
Competency ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ให้ยา Streptokinase ในปี2561ผู้ป่วย STEMI 7 รายพบว่า SK ไม่ได้ภายใน 30 นาที (4/4)= 100%
คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 2 ราย (28.57%)ไม่เกิดภาวะCardiac
Arrest และในปี 2562
ผู้ป่วย STEMI 7 ราย พบว่า SK
ไม่ได้ภายใน 30 นาที (2/5)= 40% คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 3 ราย (42.85%) ไม่เกิดภาวะCardiac
Arrest กลางปีงบประมาณ 2562 เครือข่าย service plan โรคหัวใจได้ทบทวนตัวชี้วัดเรื่องการให้
SK ภายใน 30 นาที เนื่องจากไม่ผ่านทั้งจังหวัด
จึงปรับการนับระยะเวลาการให้ SK จากเดิมนับจากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
เป็นนับตั้งแต่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น STEMI และปรับระบบการส่งขอคำปรึกษา ให้ใช้ 2 ระบบคือ
ไลน์และโทรศัพท์ทันที
8. กิจกรรมการพัฒนา:
1.การคัดกรองและประเมินที่จุดคัดแยก
กระบวนการ | เดิม | พัฒนาใหม่ |
ผู้ป่วยมีอาการที่สงสัย ACS มาถึงรพ. (Entry)
| พยาบาลวิชาชีพที่จุดคัดกรอง รอบัตร เมื่อได้บัตรจึงประเมิน chest pain check list และวัด vital sign แล้วส่ง ER
| 1. พยาบาลวิชาชีพที่จุดคัดกรองประเมินchest pain check list และวัด vital sign คัดกรองทันที โดยไม่ต้องรอบัตร 2. Activate จากจุดคัดกรองเข้า ER ทันที
|
การซักประวัติ ตรวจ และ ประเมินอาการเพื่อวินิจฉัย ที่ER (Assessment)
| 1. Check V/S & Pain Scale 2. ซักประวัติ 3. EKG 12 leads เมื่อมีประวัติหรือปัจจัยเสี่ยงภายในไม่เกิน 10 นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง โรงพยาบาล และให้แพทย์อ่านผล
| การประเมินผู้ป่วย ใช้เวลาไม่เกิน 10นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล โดย 1. Check V/S & Pain Scale 2. ซักประวัติการเจ็บป่วย และประเมินความเสี่ยง 3. ตรวจร่างกายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับอาการที่สงสัยและให้การดูแล 4. EKG 12 leads ทันทีทุกรายภายในไม่เกิน 10 นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ประเมินผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจเบื้องต้น และรายงานแพทย์ เพื่ออ่านผลซ้ำ
|
กิจกรรมการพัฒนา
1. ทบทวนการใช้แบบประเมิน chest pain check list ตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงรพ.และจุดพบผู้ป่วย
2. มีการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย STEMI และปรับปรุง CPG ให้เหมาะสม
3. พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้บริการด่านหน้า ให้สามารถประเมิน คัดกรองได้ถูกต้องและรวดเร็วทันต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
4. อบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ในกลุ่มโรค ACS และปรับปรุงแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดให้มีความชัดเจนและครอบคลุมและชี้แจงการใช้แบบประเมินให้เข้าใจตรงกัน
5. จัดวิชาการและส่งแพทย์ พยาบาลเพิ่มพูนความรู้ในการดูแล ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
6. ประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการดูแลผู้ป่วย STEMI ร่วมกับการประเมินผลที่ได้จากการสังเกต สะท้อนผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้องและนำไปพัฒนาต่อ

9. การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง:
โดยในปี 2563 (ต.ค.62- มี.ค.63 )มีผู้ป่วย STEMI 5 ราย พบว่า ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการได้รับยาSK (2/2) 100% คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 3 ราย (60%), วินิจฉัยล่าช้า 3 ราย(60%) และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตตั้งแต่ปี2561เป็นต้นมา
10. บทเรียนที่ได้รับ
1.การสนับสนุนจากผู้บริหารและการกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งสู่การทำงานเป็นทีมกับ เครือข่ายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการจัดระบบบริการและการจัดการปัญหาและอุปสรรค ทำให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่ถูกต้องและรวดเร็ว
2.การพัฒนาอย่างต่อเนื่องควรดําเนินงานเชิงรุก ในประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนให้มีศักยภาพในการช่วยติดตามผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชน นอกจากนั้นการพัฒนาเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงในการป้องกันการเกิดโรค ก็เป็นสิ่งที่จะต้องดําเนินงานควบคู่กันไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและลดอัตราการเกิดโรค
3. การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย STEMI ต้องดําเนินงานพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ผู้เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลชุมชนอย่างต่อเนื่องและควรมีระบบการรับปรึกษาจากแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะต้องสามารถทําให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 6 ชั่วโมงแรกของการเกิดภาวะ STEMI เพิ่มมากขึ้น( Delay Diagnosis)
11.การติดต่อกับทีมงาน: โรงพยาบาลปรางค์กู่ 84/2 ม.1 ต.พิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 โทรศัพท์ 045-697253