การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลทารกน้ำหนักตัวน้อยเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

 นางสาวปรานี  อสิพงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทคัดย่อ

            ทารกแรกเกิดที่มีอุณหภูมิกายต่ำ(Hypothermia) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในห้องคลอด ร่างกายทารกจะมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความร้อนภายในร่างกายโดยการเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่ต้องใช้ออกซิเจนและกลูโคสจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจตามมาเช่น ทารกหายใจเร็ว หายใจลำบาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึม ดูดนมได้น้อย จากสถานการณ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของโรงพยาบาลปรางค์กู่ 3 ปีย้อนหลัง ปี2559-2561 มี 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.78 ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.70 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88 ภาวะเลือดข้น 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88  ภาวะตัวเหลือง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88 จะเห็นได้ว่าภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดพบมากที่สุด ดังนั้นทีมจึงได้มุ่งเน้นพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยเพื่อป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด กลุ่มศึกษาคือทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยทั้งหมดที่คลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่ ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงเดือนมีนาคม 2563 เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  เปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนการพัฒนาปี 2559-2561กับหลังพัฒนา ให้ลดลงจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ30 วิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ วิธีดำเนินการ 1.มีการทบทวนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในกลุ่มทารกน้ำหนักตัวน้อย 2.จัดทำแนวทางปฏิบัติการดูแลทารกน้ำหนักตัวน้อยเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ โดยแบ่งออกเป็นระยะก่อนคลอด ระยะหลังคลอดทันทีและระยะหลังคลอด 3. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อนำแนวทางลงสู่การปฏิบัติ 4.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ2562- เดือน มีนาคม 2563 มีทารกน้ำหนักตัวน้อยทั้งหมด 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.73 จากการนำแนวทางปฏิบัติการพยาบาลดูแลทารกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยเพื่อป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำมาใช้พบมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 10 ราย คิดเป็นร้อยล่ะ 45.45 ลดลงตามเป้าหมาย จะเห็นได้ว่า ทารกสามารถสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายได้ง่ายทั้งโดยการนำ การพา การระเหย และการแผ่รังสี แนวทางปฏิบัติการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ยังมีปัจจัยที่ทำให้ทารกยังมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำที่ต้องพัฒนาต่อ คือการเตรียมอุปกรณ์รับเด็ก ปูผ้าใต้ radiant warmer 2 ผืน และอุ่นผ้ารับเด็ก เสื้อผ้าเด็ก อย่างน้อย10-15นาทีก่อนทารกคลอดและสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้  การบริหารจัดการระบบยังไม่ครอบคลุมเช่นการปิดพัดลมหลังคลอดตำแหน่งที่ทารกนอนอยู่ keep อุณหภูมิห้อง 26-28 องศาเซลเซียส หรือทำนวัตกรรมเพื่อkeep werm กลุ่มทารกที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดตามมา เช่น ทารกอาจมีหายใจเร็ว หายใจลำบาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึม ดูดนมช้าหรือดูดนมได้น้อยลง และช่วยลดระยะเวลาในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการให้บริการรักษาพยาบาล และลดผลกระทบต่อครอบครัว ทำให้เกิดความสุขกับครอบครัวและผู้ให้บริการ

 

เอกสารอ้างอิง;เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์.(2551).หลักการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ:องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

               จริยาพร วรรณโชติ(2554).การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนด.วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี.22,83-90

สาระสำคัญ

ชื่อผลงาน :  การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลทารกน้ำหนักตัวน้อยเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

เจ้าของผลงาน : นางสาวปรานี  อสิพงษ์ งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ

ผู้นำเสนอ : นางสาวปรานี  อสิพงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทนำ : ทารกแรกเกิดที่มีอุณหภูมิกายต่ำ(Hypothermia) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในห้องคลอด ร่างกายทารกจะมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความร้อนภายในร่างกายโดยการเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่ต้องใช้ออกซิเจนและกลูโคสจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจตามมาเช่น ทารกหายใจเร็ว หายใจลำบาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึม ดูดนมได้น้อย ทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยมีโอกาสสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายได้ง่ายทั้งโดยการนำ การพา การระเหย และการแผ่รังสี สถานการณ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของโรงพยาบาลปรางค์กู่ 3 ปีย้อนหลัง ปี2559-2561 มี 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.78 ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.70 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88 ภาวะเลือดข้น 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88  ภาวะตัวเหลือง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88 จะเห็นได้ว่าภาวะอุณหภูมิกายต่ำพบมากที่สุด ดังนั้นทีมจึงได้มุ่งเน้นพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลการดูแลทารกที่มีน้ำหนักน้อยเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

วิธีการศึกษาและกิจกรรมในการพัฒนา เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบเพื่อดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยไม่ให้เกิดภาวะHypothermia โดยนำแนวทางปฏิบัติมาใช้ในทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยทุกรายที่คลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่ ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปี 2563 เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  เปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนการพัฒนาปี 2559-2561กับหลังพัฒนา ให้ลดลงจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ30 วิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ

วิธีดำเนินการ 1.มีการทบทวนการสูญเสียความร้อนที่ผิวกายให้กับสิ่งแวดล้อมได้ 4 วิธี คือ 1.การนำความร้อน(conduction) การสูญเสียความร้อนของทารกแรกเกิดให้กับอากาศหรือวัตถุที่เย็นกว่าและอยู่ติดกับผิวกาย 2.การพาความร้อน(convection)คือ การถ่ายเทความร้อนจากผิวกายไปสู่สภาพแวดล้อมโดยมีกระแสลมเย็นพัดผ่านผิวกาย ถ้าทารกแรกเกิดที่อยู่ในบริเวณใกล้หน้าต่าง พัดลม เครื่องปรับอากาศ ที่กำลังทำงาน 3.การระเหย (Evaporation) เป็นการสูญเสียความร้อนเมื่อของเหลวเปลี่ยนไปเป็นไอน้ำ เช่น การปล่อยให้ทารกตัวเปียก นอนแช่น้ำคร่ำ  การอาบน้ำทารก การป้องกันการระเหยทำได้โดยเช็ดตัว ให้แห้ง ใส่หมวก เปลี่ยนผ้าอ้อมเมื่อเปียก 4.การแผ่รังสี (Radiation) เป็นการสูญเสียความร้อนของร่างกาย ไปสู่ที่เย็นกว่า โดยการอยู่ใกล้วัตถุที่เย็น แต่ไม่ได้สัมผัสกับวัตถุที่เย็นโดยตรง เช่น การวางทารกไว้ใกล้หน้าต่างที่มีอากาศที่เย็น หรือห้องที่เปิด เครื่องปรับอากาศเย็น

2.จัดทำแนวทางปฏิบัติการดูแลทารกน้ำหนักตัวน้อยเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ

ก่อนคลอด  1.ห้องคลอดปรับอุณหภูมิให้คงที่ 25 องศาเซลเซียส เตรียมอุปกรณ์รับเด็ก

ปูผ้าใต้ radiant warmer 2 ผืน และอุ่นผ้ารับเด็ก เสื้อผ้าเด็ก อย่างน้อย10-15นาทีก่อนทารกคลอด 2.มีการจดบันทึกอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ radiant warmer 3. ปิดแอร์เมื่อ head crown 4. พยาบาลรับเด็กรีบเช็ดตัวทารกด้วยผ้าแห้งทันทีแรกเกิดที่เตียงคลอด

หลังคลอดทันที 1.วางทารกบนผ้าอุ่นใต้ radiant warmerรีบเช็ดตัวแล้วรีบดึงผ้าผืนแรกออก   2.ให้การพยาบาลทารกใต้ radiant warmer (ฉีดยา ป้ายตา วัดตัว วัดไข้) กระแสลมไม่พัดผ่านบริเวณให้การพยาบาลทารก 3. จัดให้ทารกนอนบนผ้าแห้งที่อุ่นหรือวางบนอกมารดา(เนื้อแนบเนื้อ)พร้อมนำผ้า1ผืนที่ผ่านการอุ่นไปห่อหุ้มตัวทารกขณะดูดนมมารดา 4. วัดอุณหภูมิกายทารกเมื่อแรกรับทางRectum โดย – ทารกก่อนกำหนด สอดปรอทลึก 2.5 ซม. วัดนาน 3 นาที – ทารกครบกำหนด สอดปรอทลึก 3 ซม. วัดนาน 3 นาที

5.ชั่งน้ำหนักทารกโดยใช้ผ้าอ้อมรองเครื่องชั่งน้ำหนักก่อนนำทารกไปวางเพื่อลดการนำความร้อน 6.ดูแล keep warm ทารกหลังคลอดโดยแต่งตัวใส่เสื้อผ้า สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า ห่อตัวด้วยผ้าขนหนู 2 ชั้น 7.บันทึกอุณหภูมิกายแม่-ลูก,อุณหภูมิห้อง 8. ย้ายดูแลต่อหลังคลอดวัดซ้ำใน 2 ชั่วโมงหลังคลอด ถ้าอุณหภูมิกายคงที่วัดซ้ำทุก 4 ชม. หากพบอุณหภูมิต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส ให้keep warmหรือนำทารกไปให้ความอบอุ่นใต้เครื่อง radiant warmer            

ระยะหลังคลอด  1.จัดให้ทารกอยู่ในที่อบอุ่นไม่มีลมผัดผ่าน ปิดพัดลมหลังคลอดตำแหน่งที่ทารกนอนอยู่ keep อุณหภูมิห้อง 26-28 องศาเซลเซียส 2.ให้ข้อมูลมารดาและญาติในการดูแลและป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิด 3.อธิบายให้มารดาละญาติทราบถึงอันตรายที่จะเกิดกับเด็กเมื่อเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 4.ประเมินv/s 2 ชม.หลังคลอด ถ้า stable ประเมินทุก 4 ชม.

3. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อนำแนวทางลงสู่การปฏิบัติ

4..เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน: ปี2562- มี.ค.63 มีทารกน้ำหนักตัวน้อยทั้งหมด 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.73 พบมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ10 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.45 ลดลงตามเป้าหมายดังกราฟ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *