การลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่

นางปณิตา ดวนใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111

 

บทคัดย่อ

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในมารดาหลังคลอดจากข้อมูลทางสถิติของโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี 2559 – 2561พบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.96 เป็นร้อยละ 3.14 และร้อยละ 4.96 ตามลำดับทีมงานห้องคลอดจึงร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานมีความปลอดภัยเกิดทีมการทำงานที่เข้มแข็งส่งผลให้อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดน้อยลงในที่สุดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่ เป้าหมาย 1. อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด<ร้อยละ3  2. อุบัติการณ์การเกิดภาวะshock = 0  3.อุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต = 0  4. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ 100 5. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่>ร้อยละ80 ระยะเวลาดำเนินงานคือปีงบประมาณ 2562 – 2563 กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มาคลอดที่รพ.ปรางค์กู่ระหว่างปีงบประมาณ 2562–2563(ตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563) วิธีดำเนินการ 1.ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับองค์กรแพทย์นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2.จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับแบ่งกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะPPH  3. กำหนดแนวทางปฏิบัติการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดอย่างชัดเจนแบ่งตามระดับกลุ่มเสี่ยง 4.จัดทำStanding Orderโดยองค์กรแพทย์ 5.จัดทำ Alert PPH Checklist (Intrapartum)โดยแบ่งเป็น3ระดับ 1. EBL<300 ml (Prevention) 2. EBL>300 <500 ml (Alert) 3. EBL>500 ml (PPH) โดยให้เจ้าหน้าที่ใช้ Alert PPH Checklist ทุกครั้งในระยะคลอดตามระดับการสูญเสียเลือดและจัดทำChecklistกรณีรกค้างให้เจ้าหน้าที่ใช้ทุกครั้งเมื่อมีภาวะรกค้าง มีการใช้ถุงตวงเลือดกับผู้คลอดทุกราย มีการจัดทำนวัตกรรม PPH เปิดกล่องดูหนูช่วยได้ เป็นการช่วยลดขั้นตอนลดระยะเวลาทำให้มารดาสามารถเข้าถึงยาและสารน้ำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 5. มีการจัดอบรมให้ความรู้จัดซ้อมแผนการดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอดแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก 3เดือน 6. มีการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดทุกรายร่วมกับทีม PCT, MCH board เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนาร่วมกัน 7. สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ 8. เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2562 จำนวนผู้คลอด 164 รายพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด 3 รายคิดเป็นร้อยละ1.83 ปีงบประมาณ 2563(ต.ค62-มี.ค63) จำนวนผู้คลอด 88 รายพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด 1รายคิดเป็นร้อยละ 1.13 โดยในระยะเวลาดำเนินงานทั้งสองปีงบประมาณไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะshock ไม่พบอุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต  เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ100 ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ร้อยละ100 การนำไปใช้ประโยชน์ ระบบการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้คลอดโดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีความพร้อมมากนักจะสามารถช่วยลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันมีการทำงานเป็นทีมเกิดทีมงานเข้มแข็งเป็นเหตุให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ในที่สุด

 สาระสำคัญ

ชื่อผลงาน : การลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่
เจ้าของผลงาน : นางปณิตา ดวนใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ผู้นำเสนอ : นางปณิตา ดวนใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ : งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทนำ :  ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในมารดาหลังคลอดจากข้อมูลทางสถิติของโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี 2559 – 2561 พบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.96 เป็นร้อยละ 3.14 และร้อยละ 4.96 ตามลำดับ ทีมงานห้องคลอดจึงร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานมีความปลอดภัยเกิดทีมการทำงานที่เข้มแข็งส่งผลให้อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดน้อยลงในที่สุด

วัตถุประสงค์ : เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่
เป้าหมาย : 1. อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด < ร้อยละ 3
              2. อุบัติการณ์การเกิดภาวะshock = 0 
              3. อุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต = 0
              4. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ 100 
              5. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ > ร้อยละ 80
ระยะเวลาดำเนินงาน : ปีงบประมาณ 2562 – 2563
กลุ่มตัวอย่าง : มารดาที่มาคลอดที่รพ.ปรางค์กู่ระหว่างปีงบประมาณ 2562 – 2563 (ต.ค. 62 – มี.ค. 63)
วิธีการศึกษา : 1.ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับองค์กรแพทย์นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้องโดยอ้างอิงวิชาการของกรมการแพทย์และเขตบริการสุขภาพที่10
 2. จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับแบ่งกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะPPH เป็นกลุ่ม 1. เสี่ยงต่ำ 2. เสี่ยงปานกลาง 3. เสี่ยงสูง (ที่ไม่ได้ส่งต่อ) 4. เสี่ยงสูง (ที่ต้องส่งต่อ) 5. เสี่ยงต่อเนื่อง
3. กำหนดแนวทางปฏิบัติการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดอย่างชัดเจนตามระดับกลุ่มเสี่ยง
4. จัดทำStanding Orderโดยองค์กรแพทย์
5. จัดทำ Alert PPH Checklist (Intrapartum) โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ 1. EBL<300 ml ให้การดูแลแบบPrevention  2. EBL>300 <500 ml ให้การดูแลแบบ Alert  3. EBL>500 ml ให้การดูแลแบบ PPH โดยให้เจ้าหน้าที่ใช้ Alert PPH Checklist ทุกครั้งในระยะคลอดตามระดับการสูญเสียเลือด และจัดทำ Cheklist กรณีรกค้างให้เจ้าหน้าที่ใช้ทุกครั้งเมื่อมีภาวะรกค้าง
6. มีการใช้ถุงตวงเลือดกับผู้คลอดทุกราย
7. มีการจัดทำนวัตกรรม PPH เปิดกล่องดูหนูช่วยได้ เป็นการรวมวัสดุอุปกรณ์สารน้ำและยาที่ใช้ในการดูแลรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดไว้ที่เดียวกัน เพื่อช่วยลดขั้นตอน ลดระยะเวลา ทำให้มารดาสามารถเข้าถึงยาและสารน้ำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
8. มีการจัดอบรมให้ความรู้จัดซ้อมแผนการดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอดแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก 3เดือน
9. มีการทบทวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดทุกรายร่วมกับทีม PCT, MCH board เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนาร่วมกัน
10. สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่
11. เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลโดยใช้สถิติร้อยละ 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *