การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้รับบริการที่มารับบริการผ่าตัดเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการติด/แพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในรพ.ปรางค์กู่

                                           นางปรียาภรณ์  แหวนเงิน  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

งานห้องผ่าตัด  โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111

บทคัดย่อ

โรค COVID-19 เริ่มต้นพบการติดเชื้อที่ประเทศจีนในเดือนธันวาคม 2562 ต่อมาได้พบผู้ ป่วยยืนยันในหลายประเทศ จนเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก โดยพบผู้ป่วยราย ใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 1,000 ราย มี ผู้ป่วยยืนยันมากกว่า 226,302 ราย และเสียชีวิต 9,285 ราย และพบอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2 องค์การอนามัย โลกจึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีสถานการณ์การระบาดหนักระลอกที่สามทำให้มีผู้ติดเชื้อในประเทศจำนวนมากเกิดการขาดแคลนเตียงที่จะสามารถรับผู้ที่ติดเชื้อจากส่วนกลางได้ทำให้ต้องมีการกระจายผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19มารักษาตัวที่รพ.ตามภูมิลำเนา รพ.ปรางค์กู่มีให้บริการและมีจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการ cohort ward/รพ.สนามที่มีการระบาดระลอกที่ 3 วันที่19 กค.2564-20ตค.2565 มีทั้งหมด 329 รายมีผู้ป่วยสีเขียว 88 ราย ผู้ป่วยสีเหลือง 222 รายผู้ป่วยสีแดง 19 ราย refer รพ.ศรีสะเกษ 5 รายเสียชีวิต 2 ราย  รพ..ปรางค์กู่ยังไม่มีหอผู้ป่วยแยกโรคแบบห้องแยกเดี่ยว มีห้อง negative pressure 1 ห้อง ซึ่งผู้ป่วยที่รับส่วนใหญ่คือผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังคัดกรองและ ป้องกันควบคุมโรคจึงได้มีการจัดทำแนวทางการ คัดกรอง การติดเชื้อ COVID-19 แนวทางปฏิบัติการพยาบาล แนวทางในการเก็บสิ่งส่งตรวจรวมถึงการประสานงานต่างๆ และการจัดประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ระดับอำเภอขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลและการพยาบาล ผู้ป่วยโรค COVID-19ที่มารับการผ่าตัด และกลุ่มเสี่ยง COVID-19 ที่ สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล งานห้องผ่าตัดรพ.ปรางค์กู่เป็นรพ.ชุมชนระดับ F2 ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการดูแล/คัดกรองผู้มารับการผ่าตัดเพื่อเฝ้าระวังป้องกันการติด/แพร่กระจายเชื้อโควิด-19จึงมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1.การนำ Flow Prangku Hospital Covid free setting จาก IPC มาเฝ้าระวังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในผู้รับบริการที่มาผ่าตัดและเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด 2.นำ flow new normal OR  room checklist มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงาน 3.กำหนดให้ผู้รับการผ่าตัดต้องได้ตรวจ ATK ในการผ่าตัดแบบ OPD CASE หรือ RT PCR ในผู้ที่ทำผ่าตัดแบบ IPD Case ผลตรวจ ปกติไม่เกิน 72 ชม. 4.ผู้มารับการผ่าตัดถ้ามาจากพื้นที่เสี่ยงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน ไม่มีเข้าข่าย PUI จะ Set OR ได้ 5.นำแนวทางปฏิบัติการผ่าตัดหรือทำหัตถการของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของรพ. 6. ในช่วงระบาดอย่างหนัก รับผ่าตัดกรณีที่เร่งด่วนเท่านั้นที่เลื่อนผ่าตัดไม่ได้ 7.การผ่าตัดต้องเคร่งครัดทุกกระบวนการ จำกัดผู้เข้าผ่าตัด ให้น้อยที่สุด ไม่เข้าออกห้องผ่าตัดบ่อย 8.ระมัดระวังการฟุ้งกระจาย การปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่ง 9. เปิดเคื่องมือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 10. ไม่นำเวชระเบียนผู้ป่วย  ซองฟิล์ม และเอกสารที่ไม่จำเป็นเข้าห้องผ่าตัด 10. ขยะที่เกิดขึ้นเป็นขยะติดเชื้อทั้งหมดทิ้งในถังแดง 11.หลังเสร็จผ่าตัดถอดชุดป้องกันตามมาตรฐาน จากนั้นอาบน้ำ สระผม ทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการดูแล12..นำแนวทางปฎิบัติในการดูแลบุคคลากรทางการแพทย์เมื่อสัมผัสผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโควิด-19 จาก IPC มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการเมื่อเกิดการสัมผัสผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโควิด-19คัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงหรือเสี่ยงต่ำเพื่อให้การดูแลจัดการได้ถูกต้องเหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง ผู้ที่มารับบริการผ่าตัดในปีงบประมาณ 2564 ตุลาคม 2563- 20 กันยายน 2564=121ราย และปีงบประมาณ 2565 ตุลาคม 2564-20 มีนาคม 2565=78 รายรวมจำนวนผู้รับบริการคลอดทั้งหมด = 199 รายและเจ้าหน้าที่ห้องคลอดห้องผ่าตัดรวมทั้งหมด 10 คน จากการพัฒนาระบบให้บริการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโคโรนาไวรัส 19 ในโรงพยาบาลปรางค์กู่ไม่พบว่ามีการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อในผู้มารับการผ่าตัด แต่พบการติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลจากการระบาดในชุมชน 2 ราย เป็นผู้ป่วยสีเขียว คิดเป็น 20% ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเป็นเจ้าหน้าที่แต่ทำตามแนวทางการบุคลากรสัมผัสผู้ป่วยCOVID-19 ไม่พบการติดเชื้อเพิ่ม ถึงแม้ว่าโรค COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่เชื้อไปทั่วโลกก็ตาม แต่เป็นความท้าทายของระบบสาธารณสุขของไทยและทั่วโลกในการรับมือกับการระบาด ทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ถ้าทุกคนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามแนวทาง DHMTT อย่างเคร่งครัด ก็จะก้าวข้ามวิกฤต COVID19 นี้ไปได้แน่นอน

 

สาระสำคัญ

การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้รับบริการที่มารับบริการผ่าตัดเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการติด/แพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในรพ.ปรางค์กู่
เจ้าของผลงาน:นางปรียาภรณ์  แหวนเงิน  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและทีมงานห้องผ่าตัดรพ.ปรางค์กู่
ผู้นำเสนอ:นางปรียาภรณ์  แหวนเงิน  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ:งานห้องผ่าตัดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่จ.ศรีสะเกษ tell 045-697050 ต่อ 111

บทนำ :โรค COVID-19 เริ่มต้นพบการติดเชื้อที่ประเทศจีนในเดือนธันวาคม 2562 ต่อมาได้พบผู้ ป่วยยืนยันในหลายประเทศ จนเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่มีการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก โดยพบผู้ป่วยราย ใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 1,000 ราย มี ผู้ป่วยยืนยันมากกว่า 226,302 ราย และเสียชีวิต 9,285 รายงานห้องผ่าตัดรพ.ปรางค์กู่เป็นรพ.ชุมชนระดับ F2 ไม่มีแพทย์เฉพาะทางแพทย์ปฏิบัติงานเป็นแพทย์ใช้ทุนตามระบบไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการดูแล/คัดกรองผู้มารับการผ่าตัดที่มารับบริการเพื่อเฝ้าระวังป้องกันการติด/แพร่กระจายเชื้อโควิด-19จึงมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1.การนำ flow prangku hospital covid free setting จาก ipc มาเฝ้าระวังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในผู้รับบริการที่มาผ่าตัดและเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด 2.นำ flow new normal OR  room checklist มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงาน3.กำหนดให้ผู้รับการผ่าตัดต้องได้ตรวจ ATK ในการผ่าตัดแบบ OPD CASE หรือ RT PCR ในผู้ที่ทำผ่าตัดแบบ IPD Case ผลตรวจ ปกติไม่เกิน 72 ชม. 4.ผู้มารับการผ่าตัดถ้ามาจากพื้นที่เสี่ยงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน ไม่มีเข้าข่าย PUI จะ Set OR ได้ 5.นำแนวทางปฏิบัติการผ่าตัดหรือทำหัตถการของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของรพ.

วัตถุประสงค์การศึกษา : เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้มารับการผ่าตัดในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 และกลุ่มเสี่ยง COVID-19 ที่ สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลได้ตามมาตรฐานและมีความปลอดภัย ไม่เกิดการติดเชื้อ

เป้าหมาย:1.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตาม flow prangku hospital covid free setting ได้ถูกต้อง 100 %
2.นำแนวทางปฎิบัติในการดูแลบุคคลากรทางการแพทย์เมื่อสัมผัสผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโควิด-19 จาก IPC มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการเมื่อเกิดการสัมผัสผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโควิด-19เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการรับการผ่าตัด ไม่มีอุบัติการณ์การติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
3.ผู้มารับบริการผ่าตัด/ญาติปลอดภัยไม่มีอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิดจากการมารับบริการผ่าตัดที่รพ.ปรางค์กู่ 
กลุ่มตัวอย่าง ผู้ที่มารับบริการผ่าตัดในปีงบประมาณ 2564 ตุลาคม 2563- 20 กันยายน 2564=133ราย และปีงบประมาณ 2565 ตุลาคม 2564-20 มีนาคม 2565=68 รายรวมจำนวนผู้รับบริการคลอดทั้งหมด = 201 รายและเจ้าหน้าที่ห้องคลอดห้องผ่าตัดรวมทั้งหมด 10 คน

วิธีการศึกษา 1.การนำ flow prangku hospital covid free setting จาก ipc มาเฝ้าระวังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในผู้รับบริการที่มาผ่าตัดและเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด 2.นำ flow new normal OR  room checklist มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงาน3.กำหนดให้ผู้รับการผ่าตัดต้องได้ตรวจ ATK ในการผ่าตัดแบบ OPD CASE หรือ RT PCR ในผู้ที่ทำผ่าตัดแบบ IPD Case ผลตรวจ ปกติไม่เกิน 72 ชม. 4.ผู้มารับการผ่าตัดถ้ามาจากพื้นที่เสี่ยงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน ไม่มีเข้าข่าย PUI จะ Set OR ได้ 5.นำแนวทางปฏิบัติการผ่าตัดหรือทำหัตถการของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของรพ. 6. ในช่วงระบาดอย่างหนัก รับผ่าตัดกรณีที่เร่งด่วนเท่านั้นที่เลื่อนผ่าตัดไม่ได้ 7.การผ่าตัดต้องเคร่งครัดทุกกระบวนการ จำกัดผู้เข้าผ่าตัดให้น้อยที่สุด ไม่เข้าออกห้องผ่าตัดบ่อย 8.ระมัดระวังการฟุ้งกระจาย การปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่ง 9. เปิดเคื่องมือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 10. ไม่นำเวชระเบียนผู้ป่วย  ซองฟิล์ม และเอกสารที่ไม่จำเป็นเข้าห้องผ่าตัด 10. ขยะที่เกิดขึ้นเป็นขยะติดเชื้อทั้งหมดทิ้งในถังแดง 11.หลังเสร็จผ่าตัดถอดชุดป้องกันตามมาตรฐาน จากนั้นอาบน้ำ สระผม ทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการดูแล12.นำแนวทางปฎิบัติในการดูแลบุคคลากรทางการแพทย์เมื่อสัมผัสผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโควิด-19 จาก IPC มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการเมื่อเกิดการสัมผัสผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโควิด-19คัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงหรือเสี่ยงต่ำเพื่อให้การดูแลจัดการได้ถูกต้องเหมาะสม

อภิปรายสรุปและข้อเสนอแนะ: แม้ว่าโรค COVID-19เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่เชื้อไปทั่วโลกก็ตามแต่เป็นความท้าทายของระบบสาธารณสุขของไทยและทั่วโลกในการรับมือกับการระบาดทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่การนำ flow Prangku Hospital Covid free setting จาก IPC/ new normalOR room checklist/flow แนวทางส่งต่อผู้รับการผ่าตัดที่ติดเชื้อโควิด-19 /แนวทางปฎิบัติในการดูแลบุคคลากรทางการแพทย์เมื่อสัมผัสผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโควิด-19มาใช้ในระบบการทำงานช่วยให้การทำงานง่ายสะดวกและทราบผลการทำงานก่อนและหลังดำเนินการทำให้พัฒนาปรับปรุงการให้บริการผ่าตัดและการทำงานแบบnew normal เกิดการพัฒนาทางด้านโครงสร้างมีห้องแยกโรคในระบบงานห้องผ่าตัดในปี2564 เจ้าหน้าที่ให้บริการและผู้รับบริการปฏิบัติตามแนวทาง Prangku Hospital
Covid free setting
รับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19ครบสี่เข็มตามแนวทางของรพ.ทำให้ผู้รับบริการปลอดภัยไม่ติดเชื้อจากการมารับบริการผู้ให้บริการปลอดภัยจากการปฎิบัติงานถึงแม้จะพบอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19ในเจ้าหน้าที่พยาบาล2คนแต่อาการไม่รุนแรงเป็นผู้ป่วยสีเขียวเป็นการติดเชื้อในชุมชนมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเป็นเจ้าหน้าที่1คนและผู้รับบริการ 3คนเสี่ยงต่ำมีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 8คนแยกกักตัวในรายที่เสี่ยงสูงในรายที่เสี่ยงต่ำทำงานแต่ปฏิบัติตามหลัก DMHTTA ตรวจ ATK/RT PCR ครั้งที่1day1ผลปกติ ตรวจ RT PCR ครั้งที่สองและสามday5/10 ผลปกติทั้งในรายที่เสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ

 

เอกสารอ้างอิง : WHO.[Internet]. 2020. [cited 24 June 2020]. Available from: https://www.who.int/docs/default-so

: แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยการดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา,กรมการแพทย์2019

: แนวปฏิบัติการทำหัตถการและการผ่าตัดในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *