Uncategorized

63_2

รูปแบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลชุมชน วิไลลักษณ์  สีขาว  ป.พย,วท.ม.(ระบาดวิทยา) งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล  โรงพยาบาลปรางค์กู่  อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ   บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำรูปแบบไปใช้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดด้านต่างๆ เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการโดยแบ่งเป็นสามระยะคือการเตรียมการฝึกอบรมให้ความรู้เจ้าเจ้าที่ ร่างแนวทางปฏิบัติ การดำเนินการโดยนำแนวทางการปฏิบัติที่ศึกษาและรวบรวมตามทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลปรางค์กู่ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยเข้าในโรงพยาบาลจนกระทั่งจำหน่ายกลับบ้านที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2554-2560 และสรุปประเมินผลทุกรอบปี  ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่ได้  ต้องมีการอบรมให้ความรู้และคำนิยามกลุ่มเชื้อดื้อยาที่โรงพยาบาลเฝ้าระวังคือกลุ่มที่มีเอนไซม์ ESBL    กลุ่มดื้อยาหลายขนาน MDR  MRSA  CRE  VRE  อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  เขียนแนวทางปฏิบัติ มีการรายงานโดยงานชันสูตรและทำข้อความเตือนโดย ICN ประเมินผลตามแนวปฏิบัติพบว่าไม่สามารถแยกผู้ป่วยเข้าห้องเดี่ยวได้ ทำได้เพียงกำหนดเตียงและโซนไว้ให้ชัด  มีการทำป้ายเตือนความจำ  และทำ pop up ในโปรแกรมเพื่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน  และทำสัญลักษณ์ ติดหน้าเวชระเบียนผู้ป่วย  จัดทำแผนพับความรู้แจกญาติ  การสนับสนุนน้ำยาทำลายเชื้อในการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมอุปกรณ์เครื่องใช้  ด้านผลลัพธ์ เชื้อที่พบมากสุดคือ E.coli  ESBL รองลงมาเป็น K.Pneumoniae ESBL อัตราชุกตั้งแต่ปี 2554-2559  พบร้อยละ  38.9  ,30.2,47,40.5,33,54.3  …

63_2 Read More »

63_1

ชื่อสิ่งประดิษฐ์: ลำโพงชีวิต 3 ชื่อผู้ประดิษฐ์/คิดค้น: นายอดิศักดิ์  อินทร์คำและคณะ ชื่อผู้นำเสนอ : นายอดิศักดิ์ อินทร์คำ สถานที่ติดต่อกลับ:/โทรศัพท์ : โรงพยาบาลปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  /045697253 E-mail :  Adisuk.jo@gmail.com  บทนำ                 งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลปรางค์กู่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น จากการพัฒนาระบบการช่วยฟื้นคืนชีพตั้งแต่ พ.ศ.2558-2562 พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นและมีการช่วยฟื้นคืนชีพจนกลับมามีการตอบสนอง (ROSC)เพิ่มขึ้น คิดเป็น 36.36, 38.71, 54.17, 41.38 และ 44.74 จากการเก็บข้อมูลพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่การบริหารจัดการทีมที่ดี  สมรรถนะของการกดหน้าอก(CPR)  จังหวะและความแรงของการกดหน้าอกที่เหมาะสม จากการทบทวนข้อมูลการช่วยฟื้นคืนชีพของโรงพยาบาลปรางค์กู่ ยังพบว่า เจ้าหน้าที่ช่วยฟื้นคืนชีพไม่เพียงพอ    พยาบาลที่ทำหน้าที่ให้ยาจะต้องขานเวลาการให้ยา ขานเวลาการกดหน้าอก และทำหน้าที่ในการบันทึกด้วย   ในขณะช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่มี จนท.แจ้งให้ญาติและผู้ป่วยรายอื่นทราบ  นอกจากนี้ยังพบว่า  การกดหน้าอกมีอัตราที่ไม่สม่ำเสมอและความแรงไม่คงที่   ทางผู้จัดทำสิ่งประดิษฐ์จึงได้คิดค้น ลำโพงชีวิต ซึ่งเป็นเพียงการอัดเสียงจังหวะการกดหน้าอกเท่านั้น ต่อมาได้ปรับปรุง นวัตกรรมอีก 2 ครั้ง  เป็น …

63_1 Read More »

64_1

การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลทารกน้ำหนักตัวน้อยเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด  นางสาวปรานี  อสิพงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111 บทคัดย่อ             ทารกแรกเกิดที่มีอุณหภูมิกายต่ำ(Hypothermia) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในห้องคลอด ร่างกายทารกจะมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความร้อนภายในร่างกายโดยการเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่ต้องใช้ออกซิเจนและกลูโคสจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจตามมาเช่น ทารกหายใจเร็ว หายใจลำบาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึม ดูดนมได้น้อย จากสถานการณ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของโรงพยาบาลปรางค์กู่ 3 ปีย้อนหลัง ปี 2559-2561 มี 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.78 ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.70 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.88 ภาวะเลือดข้น 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.88  ภาวะตัวเหลือง …

64_1 Read More »

65_7

การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้รับบริการที่มารับบริการผ่าตัดเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการติด/แพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในรพ.ปรางค์กู่                                            นางปรียาภรณ์  แหวนเงิน  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องผ่าตัด  โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111 บทคัดย่อ โรค COVID-19 เริ่มต้นพบการติดเชื้อที่ประเทศจีนในเดือนธันวาคม 2562 ต่อมาได้พบผู้ ป่วยยืนยันในหลายประเทศ จนเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก โดยพบผู้ป่วยราย ใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 1,000 ราย มี ผู้ป่วยยืนยันมากกว่า 226,302 ราย และเสียชีวิต 9,285 ราย และพบอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2 องค์การอนามัย โลกจึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีสถานการณ์การระบาดหนักระลอกที่สามทำให้มีผู้ติดเชื้อในประเทศจำนวนมากเกิดการขาดแคลนเตียงที่จะสามารถรับผู้ที่ติดเชื้อจากส่วนกลางได้ทำให้ต้องมีการกระจายผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19มารักษาตัวที่รพ.ตามภูมิลำเนา รพ.ปรางค์กู่มีให้บริการและมีจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการ cohort ward/รพ.สนามที่มีการระบาดระลอกที่ 3 วันที่19 กค.2564-20ตค.2565 มีทั้งหมด 329 รายมีผู้ป่วยสีเขียว 88 ราย ผู้ป่วยสีเหลือง 222 รายผู้ป่วยสีแดง …

65_7 Read More »

65_6

พัฒนาแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลปรางค์กู่ นางสาวอนุชิดา แหวนวงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการงานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ         โรคเอดส์เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) และปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จากรายงานการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2554 อุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เท่ากับร้อยละ 0.18 ซึ่งสูงกว่าในปี พ.ศ. 2548 ถึง 4.70 เท่า นอกจากนี้ทารกที่คลอดจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีประมาณร้อยละ 25 – 40  โดยการติดเชื้อเอชไอวีสามารถส่งผ่านสู่ทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ซึ่งการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการระหว่างคลอด ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยให้สถานบริการสุขภาพดำเนินงานป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งโรงพยาบาลปรางค์กู่เป็นโรงพยาบาลชุมชน พบหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมาคลอดไม่บ่อยหนัก ในปี พ.ศ. 2563 พบหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมาคลอด 1 ราย แต่ได้รับการส่งต่อไปรพ.ศรีสะเกษเนื่องจากรพ.ปรางค์กู่ไม่มี AZT syrup สำหรับทารก จากการทบทวนพบว่าไม่มีแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะคลอด หลังคลอดและทารกที่ชัดเจน และไม่ได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง ทีมจึงได้พัฒนาแนวทางการพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบทในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะคลอด …

65_6 Read More »

65_5

ผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลปรางค์กู่ นางจินดาพร พรมไธสง พว.ชำนาญการโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ บทคัดย่อ          จากการทบทวนหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่พบอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในปี2560=1.58% ปี2561=1.05  ปี 2562=1.85%ปัญหาที่พบคือไม่มีแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ทารกไม่ได้รับวัคซีนHBIG และไม่ได้รับการติดตามต่อเนื่อง ในปี 2563 จึงได้นำแนวทางปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกของกรมควบคุมโรคเข้ามาใช้โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ในคปสอ.ปรางค์กู่และมีผล HBsAg positive ก่อนอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ระยะเวลาดำเนินการ ปี งบประมาณ 2563-2565  วิธีการศึกษา นำแนวทางปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกมาเรียนรู้นำสู่การปฏิบัติมอบหมายงานให้ทีมที่เกี่ยวข้องได้แก่งานเภสัชกรรม แผนก ANC แผนกห้องคลอดหลังคลอดจากนั้นดำเนินการตามแนวทางการดูแลเก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามผลการตรวจเลือดทารก ผลการดำเนินงาน  ปี 2563-2565 ไม่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กอายุครบ12เดือนจากจำนวนทารกที่คลอดจากแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทั้งหมดจำนวน 5 รายอภิปราย สรุปและข้อเสนอแนะ :  จากการดำเนินงานตามแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กหลังคลอดได้โดยติดตามเมื่ออายุครบ12เดือน เด็กที่คลอดจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อและได้รับการดูแลตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงกระบวนการดูแลของพยาบาลในระหว่างการคลอด การให้วัคซีนที่จำเป็นโดยเร็วและทารกได้รับวัคซีนตามโปรแกรมอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี               สาระสำคัญชื่อผลงาน:  ผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลปรางค์กู่เจ้าของผลงาน :นางจินดาพร …

65_5 Read More »

65_4

 ใส่ใจอีกนิดพิชิตความสะอาด Laryngoscope กุหลาบทิพย์  วงศ์สาลี    พว.ชำนาญการโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่  จ.ศรีสะเกษ บทคัดย่อ จากอุบัติการณ์อุปกรณ์ช่วยชีวิตชำรุด 1ครั้งในเดือนมกราคม2565สาเหตุจากการล้างทำความสะอาดไม่ถูกวิธีที่หน่วยงานทำความสะอาดทำลายเชื้อเองเพราะไม่สามารถนำมาทำลายเชื้อที่จ่ายกลางได้เนื่องจากมีจำนวนน้อยและเครื่องมือนั้นไม่ทนกับความร้อนของเครื่องนึ่งไฟฟ้าได้เช่นLaryngoscope, Video Laryngoscope ได้สำรวจสอบถามวิธีทำความสะอาดของแต่หน่วยงานที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวยังทำไม่ถูกต้อง เครื่องมือมีปัญหาชำรุดจากการทำความสะอาด เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ งานจ่ายกลางจึงสนใจที่จะพัฒนาวิธีการทำความสะอาดและทำลายเชื้ออุปกรณ์ดังกล่าวให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานได้ใช้งานได้สะดวกถูกต้องและถูกวิธี  จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ที่ช่วยในการล้างเครื่องมือ เพื่อให้ มีชุดทำความสะอาดที่นำไปใช้ได้ สะดวก  รวดเร็ว ถูกวิธี เครื่องมือไม่ชำรุด และลดการแพร่กระจ่ายเชื้อได้ การดำเนินงาน: ทบทวนแนวทางปฏิบัติการล้างเครื่องมือของหน่วยงาน ให้ความรู้คุณลักษณะของเครื่องมือนำแนวทางปฏิบัติในการล้างทำความสะอาด การใช้น้ำยาทำลายเชื้อเพื่อให้เครื่องมือปราศจากเชื้อสู่ผู้ปฏิบัติทุกหน่วยงานที่ใช้อุปกรณ์ ทดลองประดิษฐ์อุปกรณ์Laryngoscope Care Kit ช่วยล้างเครื่องมือขึ้น แล้วนำไปให้หน่วยงานใช้จริงประเมินการล้าง ความสะอาด ความพอใจของผู้ปฏิบัติงานโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ผลการดำเนินงาน:  พบว่าการใช้ อุปกรณ์ Laryngoscope Care Kit เครื่องมือสะอาดคิดเป็น  100% อุบัติการณ์เครื่องมือชำรุด= 0 ครั้ง  ผู้ปฏิบัติล้างทำความสะอาดได้ถูกต้องคิดเป็น  100 %ทำลายเชื้อได้ถูกวิธี = 100 %  ไม่มีข้อร้องเรียนจากผู้ใช้ ไม่พบการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ  ผู้ปฎิบัติสะดวกในการหยิบใช้และเข้าใจง่ายในการทำความสะอาด …

65_4 Read More »

65_3

การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อลดภาวะ Birth Asphyxia ในทารกแรกเกิด นางสาวปรานี  อสิพงษ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการงานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  บทคัดย่อ         ภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิด เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการคลอดซึ่งส่งผลกระทบต่อการตายของทารก หรือมีผลทำให้ทารกที่รอดชีวิตมา เจ็บป่วยและพิการ สำหรับโรงพยาบาลปรางค์กู่กำหนดให้มีการเกิดภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดได้ไม่เกิน15:1,000 การเกิดมีชีพ ข้อมูลในปี 2546 พบว่า ทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจนจำนวน 26 ราย คิดเป็น 85 : 1000 การเกิดมีชีพ มีทารกแรกเกิดเสียชีวิต 1 ราย ดังนั้นทีมจึงได้มุ่งเน้นพัฒนาระบบและรูปแบบการพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบทมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและดูแลภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดโดยมีเป้าหมาย 1.ลดอัตราการเกิดภาวะ Birth Asphyxia Apgar scoreที่ 1 นาที ≤7 น้อยกว่า 15: 1,000 การเกิดมีชีพ 2.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดตั้งแต่ปี2561 จนถึงปี 2565 เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด วิธีดำเนินการ 1.ประชุมทีมงานห้องคลอดร่วมกับงานANC นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง  2. งาน ANCมีแบบคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีการพัฒนาสอนฝึกทักษะการ ultrasound ดูส่วนนำโดยเมื่อ …

65_3 Read More »

65_2

กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดัน นางสาวอธิญา  ก้อนคำ   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการงานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111 บทคัดย่อ        ปัญหาภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อย  แต่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของประเทศไทย  และพบอัตราทุพพลภาพสูง  จึงจำเป็นที่จะต้องให้การรักษาและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้ให้ทันท่วงที  เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตของมารดาและทารก  ซึ่งทางโรงพยาบาลปรางค์กู่เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง  ไม่มีสูติแพทย์  ไม่มีศัลยแพทย์  ที่สามารถให้การผ่าคลอดทันทีเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลให้ยาลดความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงก่อนส่งต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่าย  และด้วยภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ไม่บ่อย  การดูและการเตรียมยาจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้  ฉะนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการให้ยาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว  ทางเจ้าหน้าที่ห้องคลอดจึงได้จัดทำนวัตกรรม  “กล่องยาสะกิดใจ  ช่วยลดความดัน”ขึ้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว  ถูกต้อง  ปลอดภัย  และป้องกันความผิดพลาดในการดูแลให้ยาตามแนวทางการรักษาดังกล่าว   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความผิดพลาดและสามารถให้ยาได้อย่างสะดวกรวดเร็วในการให้ยาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงของเจ้าหน้าที่  เป้าหมายไม่พบอุบัติการณ์การให้ยาผิดพลาดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง = 0 , หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงหลังการวินิจฉัยภายใน 10 นาที = 100 %,  เจ้าหน้าที่พยาบาลมีความพึงพอใจในการใช้นวตกรรม  = 100 %  …

65_2 Read More »

65_1

พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่มีปัญหาภาวะ Pneumonia เพื่อลดอัตราการเกิดRespiratory Failure ใน Cohort ward  โรงพยาบาลปรางค์กู่ นางสุปราณี  ศรีหะโคตร์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการตึกผู้ป่วย Cohort  โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ         ภาวะ Respiratory failure เป็นภาวะที่ระบบหายใจไม่สามารถทำงานได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเนื่องจากระบบหายใจเสื่อมลง ในผู้ป่วย Covid-19 มักพบการเกิดภาวะ Respiratory failure ในผู้ป่วยที่มีปัญหา Pneumonia ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วย Covid-19 เสียชีวิตมากที่สุด สถิติผู้ป่วย Covid-19 ใน cohort ward  โรงพยาบาลปรางค์กู่ ปี 2564 จำนวน 930 ราย มีปัญหา Pneumonia จำนวน 240 ราย เกิดภาวะ Respiratory failure จำนวน 3 ราย คิดเป็น …

65_1 Read More »