Uncategorized

63_12

 1.ชื่อผลงาน/โครงการ:การพพัฒนาการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยSTEMI 2.คำสำคัญ:การคัดกรองและประเมินผู้ป่วย STEMI 3.สรุปผลงานโดยย่อ:       โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นโรคที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างไม่คาดฝันงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลปรางค์กู่ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจึงได้พัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างต่อเนื่องโดยกระบวนการที่สำคัญในการให้บริการ ได้แก่  การคัดกรองและประเมินการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น การทำEKGภายใน10 นาทีและวิเคราะห์ผล เพื่อเข้าระบบช่องทางด่วนกระบวนการให้ยาละลายลิ่มเลือด(fast track)และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราเสียชีวิตจากข้อมูลผู้ป่วย STEMI ที่มารับบริการในโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี2560-2562 พบว่าในปี2560มีผู้ป่วยSTEMI 11 รายคัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 4 ราย (36.36%) ปี2561 มีผู้ป่วยSTEMI 7 ราย คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 2 ราย (28.57%) และใน2562 มีผู้ป่วยSTEMI7 ราย คัดกรองล่าช้าและEKGล่าช้า 3 ราย (42.85%) ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยSTEMIมีจุดเน้นในการจัดผู้ป่วยเข้าระบบช่องทางด่วน(fast tract) โดยเน้นที่คุณภาพการคัดกรองและประเมิน อาการเจ็บหน้าอก และการยืนยันด้วยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่รวดเร็วภายใน10 นาที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา30 นาที 4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร:โรงพยาบาลปรางค์กู่ 84/2 ม.1 ต.พิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 5. สมาชิกทีม:นางสาวทิพวรรณ ศรีโพนทอง …

63_12 Read More »

63_11

ผลการปฏิบัติตามแนวทาง Surgical Safety Check list ในโรงพยาบาลปรางค์กู่ นางสาวปรียาภรณ์  แหวนเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องผ่าตัด รพ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ โทรศัพท์ 045-697050 ต่อ 111 บทคัดย่อ ความปลอดภัยของคนไข้ที่ต้องได้รับการผ่าตัด เป็นสิ่งที่ทีมงานห้องผ่าตัดให้ความสำคัญสูงสุด หัวใจของความปลอดภัยในการผ่าตัด ได้แก่ ผู้ป่วยจะต้องได้รับ การผ่าตัดถูกต้อง ถูกข้าง ถูกตำแหน่ง ไม่มีภาวะติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างในร่างกายผู้ป่วย และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญจึงจัดทำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย Surgical Safety Check list ขึ้นในปี 2551 เพื่อให้ทุกโรงพยาบาล นำไปใช้ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการผ่าตัดปลอดภัย ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วย  จากการทบทวนระบบการทำงานของห้องผ่าตัดโรงพยาบาลปรางค์กู่พบว่ายังไม่ได้นำมาตรฐานการทำSurgical Safety Check list เข้ามาใช้ในการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดได้รับความปลอดภัย แม้จะเป็นการทำผ่าตัดเล็กและไม่มีอุบัติการณ์ผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดตำแหน่ง เพื่อเป็นการพัฒนาระบบงานให้ได้ตามมาตรฐานที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆและเจ้าหน้าที่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาดำเนินการ 21 กันยายน 2562 –20 มีนาคม …

63_11 Read More »

63_10

1. ชื่อผลงาน :  โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 2. สรุปผลงานโดยย่อ : ผู้ป่วยโรคจิตเภทในปี พ.ศ. 2560,2561 จำนวน 209 , 264 ราย และมีอาการกำเริบ มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ และทรัพย์สิน ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลหรือส่งต่อโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ในปี พศ. 2560,2561 จำนวน 32 ,45 ราย คิดเป็น ร้อยละ 15.3 และ17.0  ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โรงพยาบาลปรางค์กู่จึงจัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยการบูรณาการ การดูแลผู้ป่วยร่วมกับหน่วยงานภายนอก และภาคีเครือข่าย ในระบบสุขภาพอำเภอ ทำให้อัตราการกำเริบของผู้ป่วยลดลง 3. ชื่อสมาชิกทีม ชื่อหน่วยงาน : นางสาวพนอม ศรียงยศ พยาบาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปรางค์กู่ 4. เป้าหมาย : เพื่อลดปัญหาการกลับเป็นซ้ำ ลดการก่อความรุนแรงทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และการสร้างภาคีเครือข่ายในการดูอย่างต่อเนื่อง …

63_10 Read More »

63_9

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง: พัฒนาการดูแลผู้ป่วย Alcohol withdrawalSyndrome เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะชักในผู้ป่วย Alcoholwithdrawal  Syndrome ชื่อเจ้าของผลงาน/ผู้นำเสนอผลงาน: นายอนุพนธ์ นนทวงค์ สถานที่ปฏิบัติงาน: งานผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลปรางค์กู่  โทร 045-697167 ต่อ 134 บทนำ: กลุ่มอาการ Alcohol withdrawal Syndrome  เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลางเกิดขึ้นในผู้ที่หยุดดื่มหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ลงกระทันหันหลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน อาการขาดแอลกอฮอล์มักจะรุนแรงสูงสุดในวันที่สองหลังจากหยุดดื่ม  ประมาณร้อยละ 3 ของผู้ที่มีภาวะขาดแอลกอฮอล์จะมีอาการชัก โดยร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีอาการชักจะเกิดภายใน48 ชั่วโมงหลังหยุดดื่ม  จากสถิติตึกผู้ป่วยชายโรงพยาบาลปรางค์กู่  ปี 2559 พบมีผู้ป่วย Alcohol dependence จำนวน 32 ราย เกิดภาวะ Alcohol withdrawal จำนวน 11 ราย คิดเป็น 34.37% เกิดภาวะชักจำนวน  4 ราย คิดเป็น 12.5%  และพบมีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง เกิดภาวะ Alcoholwithdrawal Syndrome มีอาการชักและเกิดภาวะ Aspiration Pneumonia …

63_9 Read More »

63_8

การพัฒนาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด  ในโรงพยาบาลปรางค์กู่ นางสาวอธิญา  ก้อนคำ   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170, Tel 045-697050 ต่อ 111  บทคัดย่อ บทนำ : ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญทางสาธารณสุขที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์  และยังส่งผลกระทบต่อภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Birth asphyxia)  เนื่องจากอวัยวะปอดยังสร้างไม่สมบูรณ์  ซึ่งพบอัตราการตายสูง  อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทารกและความผิดปกติในอนาคต  ยิ่งหากทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าใด  ยิ่งส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตในทารกเพิ่มมากขึ้น  จากการทบทวนอุบัติการณ์ในห้องคลอดโรงพยาบาลปรางค์กู่พบ  หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 58 พบร้อยละ  6.25 , ปี 59 พบร้อยละ 5.73 และปี 60 พบร้อยละ 7.09  มีภาวะคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 58 พบร้อยละ 3.13 , ปี 59 พบร้อยละ 3.45  และปี 60 พบร้อยละ 4.71 …

63_8 Read More »

63_07

การพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาและทารกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอภายใน 48ชม.หลังคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ นางสาวอนุชิดา  แหวนวงษ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการงานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111  บทคัดย่อ ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดรองจากปัญหาระบบหายใจ เกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงกว่าปกติ  สารนี้จะเข้าไปในเนื้อสมองทารกทำให้เกิดอาการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง(kernicterus) มีผลทำให้ทารกมีความผิดปกติทางระบบประสาทในระยะยาวหรือถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องได้รับการรักษาโดยการส่องไฟและการเปลี่ยนถ่ายเลือด ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในอนาคต และทำให้เพิ่มระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานขึ้น  มารดาและญาติมีความวิตกกังวล ยิ่งระดับบิลิรูบินสูงมากกว่าปกติเท่าไรยิ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับทารกมากขึ้นเท่านั้น จากข้อมูลทางสถิติของโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี 2560-2562 พบอัตราการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ8.90,15.46 และ17.32 ตามลำดับ โดยแยกตามสาเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้คิดเป็น 4.2%,6.76%,13.06% (ABO incompatibility ทารกน้ำหนักตัวน้อย (<2,500 g) Hemolysis, Polycythemia, Preterm, G6PD deficiency, Sepsis) และตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอคิดเป็น4.7%,8.7%,4.26%ซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้  ทีมงานห้องคลอดจึงร่วมกันพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาและทารกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอ  เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานมีความปลอดภัย ส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอลดลงในที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลปรางค์กู่ เป้าหมาย 1.อัตราการเกิดภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอ<ร้อยละ4 2.อุบัติการณ์การเกิดภาวะ Kernicterus=0  3.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ100  กลุ่มตัวอย่างคือมารดาและทารกคลอดปกติดูแลครบ48ชม.หลังคลอดที่รพ.ปรางค์กู่ระหว่างวันที่ 21 …

63_07 Read More »

63_6

 การลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่ นางปณิตา ดวนใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการงานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111   บทคัดย่อ ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในมารดาหลังคลอดจากข้อมูลทางสถิติของโรงพยาบาลปรางค์กู่ในปี 2559 – 2561พบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.96 เป็นร้อยละ 3.14 และร้อยละ 4.96 ตามลำดับทีมงานห้องคลอดจึงร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานมีความปลอดภัยเกิดทีมการทำงานที่เข้มแข็งส่งผลให้อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดน้อยลงในที่สุดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลปรางค์กู่ เป้าหมาย 1. อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด<ร้อยละ3  2. อุบัติการณ์การเกิดภาวะshock = 0  3.อุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต = 0  4. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ 100 5. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่>ร้อยละ80 ระยะเวลาดำเนินงานคือปีงบประมาณ 2562 – 2563 กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มาคลอดที่รพ.ปรางค์กู่ระหว่างปีงบประมาณ 2562–2563(ตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563) วิธีดำเนินการ 1.ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับองค์กรแพทย์นำเสนอปัญหาและทบทวนวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2.จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงแรกรับแบ่งกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะPPH  3. กำหนดแนวทางปฏิบัติการดูแลและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดอย่างชัดเจนแบ่งตามระดับกลุ่มเสี่ยง …

63_6 Read More »

63_5

การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลทารกน้ำหนักตัวน้อยเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด  นางสาวปรานี  อสิพงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องคลอด โรงพยาบาลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 33170 , Tel 045-697050 ต่อ 111 บทคัดย่อ             ทารกแรกเกิดที่มีอุณหภูมิกายต่ำ(Hypothermia) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในห้องคลอด ร่างกายทารกจะมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความร้อนภายในร่างกายโดยการเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่ต้องใช้ออกซิเจนและกลูโคสจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจตามมาเช่น ทารกหายใจเร็ว หายใจลำบาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึม ดูดนมได้น้อย จากสถานการณ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของโรงพยาบาลปรางค์กู่ 3 ปีย้อนหลัง ปี2559-2561 มี 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.78 ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.70 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88 ภาวะเลือดข้น 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88  ภาวะตัวเหลือง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ5.88 …

63_5 Read More »

63_4

ชื่อผลงาน : พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care)โรงพยาบาลปรางค์กู่ ชื่อเจ้าของผลงาน : นางสาวศศิพัชร์ พงษ์ธนู ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางสาวศศิพัชร์ พงษ์ธนูสถานที่ติดต่อกลับ : งานผู้ป่วยหญิงและเด็ก โรงพยาบาลปรางค์กู่ โทรศัพท์ที่ทำงาน  045-697050 ต่อ 141 E-mail : torpud_55@hotmail.co.th  โทรศัพท์ 066-1652961  บทนำ  :  การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นการดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการดูแลที่ต้องอาศัยทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยยึดผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง การดูแลที่ดีครบองค์รวมช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ครอบครัวสามารถใช้ชีวิตช่วงวิกฤติกับผู้ป่วยไปอย่างราบรื่น จากสถิติโรงพยาบาลปรางค์กู่ ได้ให้การบริการการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในปี พ.ศ. 2559-2562 ดังนี้ 43, 61, 129 และ 133 ราย ตามลำดับ ซึ่งจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลแบบประคับประคองมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการทบทวน การดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง …

63_4 Read More »

63_3

ชื่อผลงาน:  พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis  รพ.ปรางค์กู่               ชื่อเจ้าของผลงาน:  นางสาวเมธาวี ราชพิมาย  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ   ชื่อผู้นำเสนอผลงาน:  นางสาวเมธาวี ราชพิมาย        สถานที่ติดต่อกลับ: โรงพยาบาลปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ   โทรศัพท์  066-1659254     โทรศัพท์หน่วยงาน 045-697050  ต่อ  141 E-mail :mayawee1@hotmail.com                                                                                                                  บทนำ                 ภาวะ sepsis เป็นภาวะวิกฤตที่มีความสำคัญ พบว่า อัตราอุบัติการณ์มีแนวโน้มสูงขึ้นและอัตราเสียชีวิตสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ได้แก่ ภาวะช็อก,ไตวาย การทำงานอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีผู้ป่วย Sepsis ประมาณ 175,000 ราย/ต่อปี  และมีผู้ป่วย …

63_3 Read More »